Page 81 -
P. 81

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          70   วารสารมนุษยศาสตร์

          เข้ามาร่วมด้วย โดยพรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน
          พ.ศ. 2489 โดยมีนายควง อภัยวงศ์เป็นหัวหน้าพรรค และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
          เป็นเลขาธิการพรรค พรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นพรรคของกลุ่มอนุรักษนิยมเพราะ

          “เป็นการรวมตัวกันของพรรคก้าวหน้ากับผู้แทนฯ ที่มีแนวทางอนุรักษนิยมแต่ยัง
          ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองเข้าร่วมด้วย ทั้งได้รับความสนับสนุนจากเจ้าและขุนนาง
          เก่า รวมทั้งผู้ที่มีที่ดินและทรัพย์สมบัติเก่ามาก่อน” (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2538: 385)
          พรรคประชาธิปัตย์มีเป้าหมายที่จะโจมตีนายปรีดี พนมยงค์ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี
          ณ ขณะนั้น โดยประเด็นหนึ่งที่น ามาโจมตีคือการกล่าวหาว่านายปรีดีมีส่วน
          เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต

          ด้วยพระแสงปืน ซึ่งประเด็นนี้ท าให้นายปรีดีถูกโจมตีไปในวงกว้าง อาทิ “การตั้ง
          กระทู้ถาม และการเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน ไปจนถึงการ
          วิพากษ์วิจารณ์ของนักหนังสือพิมพ์ ส่งผลให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในรัฐบาล”
          (กิตติ ตันไทย, 2550: 238) ด้วยเหตุนี้นายปรีดีจึงประกาศลาออกจากต าแหน่งนายก
          รัฐมนตรี ต่อมาสภามีมติให้พลตรีหลวงธ ารงนาวาสวัสดิ์ด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรี


                 ในระยะที่พลตรีหลวงธ ารงนาวาสวัสดิ์ด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.
          2489-2490) นั้น รัฐบาลต้องเผชิญกับความยุ่งยาก 2 ประการ คือ “ประการแรก
          การเร่งคลี่คลายกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ประการที่สอง ประเทศก าลัง
          ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ าอันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจเสื่อมโทรมในสมัยหลัง
          สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง 2 กรณี รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้ส าเร็จลุล่วงไปได้”
          (กิตติ  ตันไทย, 2550: 238) ความยุ่งยากดังกล่าวกลายมาเป็นเงื่อนไขให้พลโทผิน

          ชุณหะวัณ และคณะท ารัฐประหารรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 กล่าวได้
          ว่าการท ารัฐประหารในครั้งนี้เป็นผลมาจากการคืนสู่อ านาจทางการเมืองของกลุ่ม
          อนุรักษนิยม ดังที่ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2551: 65) กล่าวถึงการท ารัฐประหารครั้งนี้
          ว่า “ถือเป็นจุดสิ้นสุดแห่งประชาธิปไตยของคณะราษฎรเป็นผลมาจากการพยายาม
          ในการฟื้นอิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยมฟื้นฟูเจ้า ซึ่งมีเป้าหมายที่จะฟื้นฐานะอัน
          ตกต่ าของสถาบันพระมหากษัตริย์และต่อต้านคณะราษฎร และกลุ่มอนุรักษนิยม

          ประสบความส าเร็จเกินคาดในการโฆษณาท าลายความชอบธรรมของรัฐบาลพล
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86