Page 80 -
P. 80
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 69
วงวรรณคดี: กำรฟื้นตัวของกลุ่มอนุรักษนิยมและกำรฟื้นสถำนะให้สถำบัน
พระมหำกษัตริย์
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 จนถึงยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก หรือกล่าวได้ว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2475–2487 เป็นยุคที่สถาบัน
พระมหากษัตริย์และกลุ่มอนุรักษนิยมหรือกลุ่มชนชั้นสูงถูกลดบทบาทหรืออ านาจ
ไปจากสังคมไทย ดังที่ ลิขิต ธีรเวคิน (2554: 136) กล่าวถึงผลกระทบจากการปฏิวัติ
พ.ศ. 2475 ว่า “อ านาจทางการเมืองการปกครองบริหารได้เปลี่ยนจากเจ้าไปสู่
ข้าราชการทหารและพลเรือน หลังการปฏิวัติ 2475 บุคคลที่มีเชื้อเจ้าถูกกีดกันจาก
กระบวนการเมืองและทางอ านาจ” และในยุคของจอมพล ป. “มีการพยายามก าจัด
อิทธิพลของระบอบเก่าออกไปจากการเมืองโดยใช้วิธีการลดศักดิ์ศรีของราชวงศ์
ด้วยการสั่งยกเลิกเบี้ยบ านาญที่เคยได้รับ หรือการสั่งให้ปลดพระฉายาลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสละราชสมบัติไปแล้ว ออกจากสถานที่
ราชการและที่สาธารณะต่างๆ” (สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ, 2532: 44) นอกจากนี้ “ยัง
สั่งให้กรมอัยการยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนาง
เจ้าร าไพพรรณีต่อศาล เพื่อเรียกทรัพย์สินคืนเป็นจ านวนเงิน 6 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาล
เป็นฝ่ายชนะ ว่าให้ยึดทรัพย์ของจ าเลยที่มีอยู่ในประเทศสยามทั้งหมด รวมทั้ง
วังสุโขทัยซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ด้วย” (ปรีดา วัชรางกูร, 2520: 46)
อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488) กลุ่มอนุรักษนิยมเริ่ม
มีบทบาทและมีอ านาจทางการเมืองขึ้นอีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มกัน
ก่อตั้งพรรคการเมืองคือ “พรรคก้าวหน้า” ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2488 โดย
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และคณะ ซึ่งพรรคก้าวหน้าถือ “เป็นพรรคของกลุ่ม
อนุรักษนิยมที่เป็นเจ้าและขุนนางในระบอบเก่า ซึ่งส่วนหนึ่งกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่
เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับคณะราษฎรมาก่อน และได้ถูกก าจัดออกไปด้วยการถูกจับกุม
ขังภายหลังกบฏบวรเดชปี 2476” (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2538: 384–385) ต่อมาเมื่อมี
ก่อตั้ง “พรรคประชาธิปัตย์” ขึ้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ได้ยุบพรรคก้าวหน้า