Page 23 -
P. 23
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12 วารสารมนุษยศาสตร์
การถวายข้าวพระพุทธเจ้ามีปรากฏสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นการ
ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ดังที่เสฐียรโกเศศกล่าวว่า “ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ แม้จะ
เป็นคติที่เห็นได้ว่า สืบเนื่องมาแต่โบราณนานไกล เป็นเรื่องคติความเชื่อเดิม...แต่ที่
ท าเป็นประเพณีกันมาก็ไม่เห็นว่าเสียหายอะไร นอกจากเป็นเครื่องส าแดงความนับ
ถือในพระพุทธเจ้า ด้วยนึกว่าพระองค์ท่านยังอยู่” (เสฐียรโกเศศ. ม.ป.ป., 91) การ
ถวายข้าวพระพุทธจะท าก่อนการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ดังที่เสฐียรโกเศศ
(ม.ป.ป., 91) อธิบายไว้ว่า
ก่อนจะถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์จะต้องมีการถวาย
ภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าด้วย คือ จัดส ารับไปวางลงบนโต๊ะ
ปูผ้าขาวหน้าที่บูชา จุดธูป 3 ดอกปักที่กระถางธูป นั่งคุกเข่า
ประนมมือว่านโม 3 จบ แล้วว่าค าถวายข้าวพระลางทีถ้าไม่
จัดเป็นส ารับ จัดอาหารเป็นสิ่งละน้อยไว้ในภาชนะที่ถวายคล้าย
เครื่องสังเวยก็มี เสร็จถวายข้าวพระพุทธแล้ว จึงจะประเคน
ภัตตาหารถวายแด่พระสงฆ์ ลางทีก็ถวายพร้อมกัน คนประเคน
อาหารพระก็ประเคนไป คนถวายข้าวพระพุทธก็ถวายไป...
ปัจจุบันแม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่
พุทธศาสนิกชนก็ยังระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมอ เมื่อจะประกอบพิธี
ใดทางศาสนา จะจัดเตรียมพระพุทธรูปเปรียบเสมือนพระพุทธองค์เป็นประธานไว้
ประเพณีการท าบุญตักบาตร
การท าบุญตักบาตรถือเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ เป็นการสืบต่อ
พระพุทธศาสนาช่วยรักษาพุทธประเพณี และเป็นการท านุบ ารุงศาสนา อีกทั้งการ
ท าบุญตักบาตรยังถือเป็นอีกวิถีทางหนึ่งให้พุทธศาสนิกชนได้สะสมเสบียงบุญไว้ใช้
ในโลกหน้า ทั้งเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิ ได้กล่าวถึงอานิสงส์ผลบุญที่ได้กระท าใน
ส านักพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพมีมากมายเหนือ