Page 28 -
P. 28
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 17
ด้วยเหตุที่อวันตีทักขิณบทมีภิกษุน้อย การจะรวบรวมภิกษุสงฆ์ให้ครบ
ทศวรรคกระท าได้ล าบากนัก จึงมีการลดหย่อนจ านวนภิกษุให้น้อยกว่า 10 รูป ถึง
กระนั้นก็ต้องใช้เวลารวบรวมพระสงฆ์เพื่อประกอบพิธีกรรมอุปสมบทให้โสณ
โกฏิกัณณะนานถึงสามปี ส่วนในปัจจุบันนั้นการอุปสมบทนั้นมิได้ยากล าบาก
ดังเช่นสมัยพุทธกาล เมื่อใครต้องการอุปสมบทให้ไปติดต่อวัด เจ้าอาวาสจะจัดหา
พระอุปัชฌาย์ให้ ผู้ที่จะบวชจะต้องท่องค าขอบวชสรณคมน์ และศีล 10 ให้ได้เตรียม
เครื่องอัฐบริขารและเครื่องใช้ที่จ าเป็นไป
ประเพณีการท าศพ
ประเพณีการท าศพในสมัยพุทธกาล เมื่อมีใครเสียชีวิต ก็จะน าร่างไปเผา
แล้วท าสถูปไว้เหนืออัฐิของผู้ล่วงลับ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์อุทาน ตอนพาหิยสูตร
เมื่อพาหิยทารุจียะถูกแม่โคลูกอ่อนขวิดถึงแก่ชีวิตแล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเรื่องการท าศพพาหิยทารุจียะว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยะ
ยกขึ้นวางบนแคร่ น าไปเผาเสีย
แล้วจงท าสถูปไว้ สหายในชีวิตพรหมจรรย์ของเธอได้
ท ากาลกริยาแล้ว” (พาหิยสูตร: 29)
จะเห็นได้ว่า การท าศพในสมัยพุทธกาลนั้นไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนนัก
เมื่อเผาเสร็จแล้ว ก็จะท าสถูปไว้ การท าสถูปมีปรากฏมาถึงในปัจจุบัน เมื่อเผาศพ
เรียบร้อยแล้ว ลูกหลานของผู้ล่วงลับอาจเก็บอัฐิไว้ที่บ้าน หรือน าอัฐิมาบรรจุไว้ใน
สถูปที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกและให้ลูกหลานได้เคารพกราบไหว้
นอกจากนี้ ในคัมภีร์อุทานยังกล่าวถึง ประเพณีการช าระร่างกายหลังไป
ร่วมงานศพไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น เอกปุตตสูตร อุบาสกทั้งหลายได้กล่าวถึงเหตุที่มี
ผมและเสื้อผ้าเปียกมาเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาเที่ยงว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุตร
คนเดียวเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์ได้ท ากาละลง เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายจึงมีผ้าชุ่ม มีผมเปียกเข้ามาในเวลาเที่ยง” (เอกปุตตสูตร: 41) การช าระ