Page 24 -
P. 24

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   13

                คณานับ ดังความตอนหนึ่งที่นาง อสันธมิตตาสอนพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้หมั่น
                ท าบุญ ท าทาน ถือศีล ฟังธรรมว่า

                       ...แต่นี้ไปเมื่อหน้าจงผู้เป็นเจ้าเอาพระองค์เจ้าผู้เป็นเจ้าประกอบ
                       ในศาสนาพระพุทธเจ้า แลพระองค์เจ้าเร่งสดับนิ์ฟังธรรมจ าศีล

                       ท าบุญจงนักหนา ในศาสนาพระพุทธเจ้าเถิด เหตุการณ์ใด
                       เหตุการณ์นั้น อันว่าเราท่านจะได้พบศาสนาพระพุทธเจ้านี้ยาก
                       นักหนาแล อันว่าบุญแลธรรมอันได้กระท าในส านักนิ์
                       พระพุทธเจ้า แลพระปัตเยกโพธิเจ้าแลพระอรหันต์ขิณาสพเจ้า
                       ทั้งหลาย อันว่าผลบุญนั้นมีมากนักหนา ถ้าจะนับจะคณนาไส้บมิ

                       ถ้วนได้เลยฯ ด้วยการดังนี้แล แต่นี้ไปเบื้องหน้าจงท่านหมั่น
                       ท าบุญ หมั่นอวยทานหมั่นสดับนิ์ฟังธรรมจ าศีลหมั่นสอนใจอย่า
                       ให้เคียดเสพย์ด้วยมิตรสหายผู้ดี แลพระองค์เจ้าอย่ามีความ
                       ประมาทแก่พระธรรมสักเมื่อเลยฯ...(พระยาลิไทย, 2515: 167)

                       การท าบุญมิได้จ าแต่ในหมู่มนุษย์เท่านั้น แม้แต่พระอินทร์และเหล่า
                เทวดาต่างก็กระท าบุญ ด้วยหวังว่าอานิสงส์ผลบุญที่ตนได้ท า อาจให้สมบัติใน

                พรหมโลกได้ ดังที่กล่าวในไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิว่า “บุญทั้งหลายนี้มิใช่แต่
                เมืองมนุษยภูมิกระท าแลฯ ได้บุญในแผ่นดินนี้ทั้งฝูงเทพยดาอันอยู่ในฉกามาพจร
                ภูมิก็ดีย่อมกระท าบุญ ฝูงนี้แลจึงได้เป็นพระอินทร์เทวดาในเมืองฟ้าไส้ฯ บุญฝูงนั้น
                ให้ได้สมบัติเป็นมลากเป็นดีในกามโลกย์นี้ได้ไส้ อาจให้ได้สมบัติเป็นมลากเป็นดีใน
                กามโลกย์นี้ได้ไส้ อาจให้ได้สมบัติในพรหมโลกย์นั้นได้ฯ” (พระญาลิไทย, 2515: 188)

                       คัมภีร์อุทานในพระมหากัสสปสูตร ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระอินทร์และ
                เหล่าเทวดาห้าร้อยขวนขวายออกมาท าบุญตักบาตรถวายท่านพระมหากัสสปะ
                พระสาวกผู้ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์ว่า เมื่อครั้งท่านถอน
                ออกจากสมาธิว่า
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29