Page 21 -
P. 21

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          10   วารสารมนุษยศาสตร์

          ประเพณีท าบุญเลี้ยงพระ
                 ในสมัยพุทธกาล การนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่บ้านสามารถ

          นิมนต์ด้วยวาจาได้โดยตรง ดังที่ปรากฏในคัมภีร์อุทาน เมื่อครั้งนายจุนทะช่างโลหะ
          นิมนต์พระพุทธเจ้าไปรับภัตตาหารที่เรือนของตนว่า

                 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
                 จงทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระเจ้าข้า”
                 พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ล าดับนั้นนายจุนทะ
                 ช่างโลหะทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะ

                 ถวายบังคม กระท าประทักษิณแล้วหลีกไป (จุนทสูตร: 165)

                 เมื่อทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าแล้ว หากพระพุทธองค์ทรงนิ่งเฉยหมายถึงทรง
          รับค านิมนต์ ดังนั้น เมื่อนายจุนทะเห็นอาการดังกล่าว จึงถวายบังคมลา กระท า
          ประทักษิณแล้วออกไป ส่วนการนิมนต์พระสงฆ์ในปัจจุบัน สามารถนิมนต์ด้วย
          วาจา และท าฎีกานิมนต์เป็นลายลักษณ์ โดยท าเป็นหนังสือฎีกานิมนต์มี
          รายละเอียดข้อความดังนี้ “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (เจริญพระพุทธมนต์หรือแสดง

          พระธรรมเทศนา) ในงาน(มงคลท าบุญฉลองอายุ) ที่บ้าน (เลขที่...ต าบล...ฯลฯ)
          ก าหนด ณ วันที่ (4 ธันวาคม พ.ศ.2496) เวลา (16.00 น.) รุ่งขึ้น (เช้าหรือเพล) รับ
          ภัตตาหาร” (เสฐียรโกเศศ,2546: 14)

                 เมื่อนิมนต์พระแล้ว เจ้าของบ้านต้องจัดเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อย ปูลาด
          อาสนะ จัดเตรียมของใช้ที่จ าเป็น และเตรียมภัตตาหารให้เรียบร้อย ภัตตาหารที่

          จัดเตรียมถวายต้องท าอย่างประณีต ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างเมื่อนายจุนทะสั่งคน
          ให้ตกแต่งอาหารอย่างประณีตว่า “นายจุนทะช่างโลหะสั่งให้ตกแต่งโภชนียาหารอัน
          ประณีต รวมทั้งสูกรมัทวะ” (จุนทสูตร:166) หรือผู้ที่นิมนต์จัดท าภัตตาหารถวายเอง
          อย่างประณีต เช่น นางสุปปวาสาจัดขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีตด้วยมือของ
          นางเองเป็นเวลาเจ็ดวัน ดังความว่า “ครั้งนั้น พระนางสุปปวาสโกลิยธิดา ทรงอังคาส
          ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระ

          หัตถ์ของพระนางทั้งสิ้นเจ็ดวัน” (สุปปวาสสูตร: 46)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26