Page 22 -
P. 22

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   11

                       เมื่อถึงเวลาภัตกาล เจ้าภาพต้องไปนิมนต์พระสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่
                เตรียมไว้ ดังที่นายจุนทะช่างโลหะได้กราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์
                มาฉันภัตตาหารเช้า ดังความในจุนทสูตรว่า


                              เมื่อราตรีล่วงไป นายจุนทะช่างโลหะสั่งให้ตกแต่งขาทนีย
                       โภชนียาหารอันประณีต รวมทั้งสูกรมัททวะปริมาณมาก ในนิเวสน์
                       ของตน แล้วกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
                       พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วภัตพร้อมแล้ว”

                              ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองจีวร
                       ถือบาตรและสังฆาฏิ เสด็จไปยังนิเวสน์ของนายจุนทะช่างโลหะ
                       พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดถวาย

                       (จุนทสูตร: 166)

                       พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ทรงครองจีวร ถือบาตรและสังฆาฏิเสด็จเข้าไป
                ในบ้านของนายจุนทะ และนั่งบนอาสนะที่นายจุนทะปูลาดถวาย  พระภิกษุสงฆ์จะ
                ฉันภัตตาหารได้ต่อเมื่อมีผู้อังคาส หมายถึงการถวายหรือการประเคน ดังที่
                พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทในพระวินัยปิฎกเล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ในปาจิตติย
                กัณฑ์ หมวดโภชนวรรค สิกขาบทที่ 10 ห้ามภิกษุฉันอาหารที่ไม่ได้รับประเคน

                ยกเว้นน้ าและไม้สีฟัน

                       การถวายภัตตาหารเริ่มจากการถวายพระพุทธเจ้า ต่อจากนั้นจึงประเคน
                พระภิกษุองค์อื่นๆ ดังตัวอย่างใน ปาฏลิคามิยสูตร ว่า

                       ...ล าดับนั้น สุธีนะและวัสสการะมหาอ ามาตย์แห่งแคว้นมคธ
                       อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนี

                       ยาหารอันประณีต ให้อิ่มหน าส าราญด้วยมือของตน (ปาฏลิคามิย
                       สูตร: 177-178)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27