Page 27 -
P. 27
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16 วารสารมนุษยศาสตร์
ครั้งนั้น การปรารภเพื่อจะบวชของอุบาสกโสณ
โกฏิกัณณะได้ระงับไป
แม้ครั้งที่สอง อุบาสกโสณโกฏิกัณณะอยู่ในที่หลีกเร้น
ได้เกิดความด าริเดิม อุบาสกโสณโกฏิกัณณะก็ได้เข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะ และขอออกจากเรือน แต่ก็ได้รับค าตอบ
เหมือนเดิม ถึงครั้งที่สามท่านพระมหากัจจานะจึงให้อุบาสก
โสณโกฏิกัณณะบรรพชา
สมัยนั้น อวันตีทักขิณบถมีภิกษุน้อย ล่วงไปสามปี
ด้วยความยากล าบาก ท่านพระมหากัจจานะจึงสามารถรวบรวม
ภิกษุสงฆ์ทศวรรค จากที่นั่นบ้างที่นี่บ้างจนครบองค์ และท่าน
พระโสณะได้อุปสมบท (โสณสูตร: 118-119)
ในสมัยพุทธกาล ตามพระวินัยจะประกอบพิธีอุปสมบทได้ คณะภิกษุสงฆ์
ต้องประกอบด้วยภิกษุอย่างน้อย 10 รูป หรือ ทสวคฺค ภิกฺขุสงฺฆ ดังที่ไอร์แลนด์
อธิบายว่า
ทสวคฺค ภิกฺขุสงฺฆ ตามพระวินัยแล้ว คณะภิกษุสงฆ์ต้องประกอบ
ด้วยภิกษุอย่างน้อย 10 รูป จึงจะประกอบพิธีอุปสมบทได้ กล่าวคือ
ประกอบพิธีที่ยกฐานะสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุ แต่ด้วยการขอ
อนุญาตของพระมหากัจจานะ จ านวนภิกษุสงฆ์นี้ลดลงได้เหลือ
5 รูป...ดังมีเรื่องของพระโสณโกฏิกัณณะรวมอยู่ ซึ่งแสดงว่ามี
การลดหย่อนผ่อนปรนแล้ว อย่างไรก็ตาม ในการบรรพชาสามเณร
นั้นเพียงพระภิกษุอาวุโสรูปเดียวก็สามารถประกอบพิธีได้
ดังนั้น ท่านพระโสณะจึงสามารถบรรพชาเป็นสามเณรได้ทันที
หลังจากที่พระอาจารย์อนุญาตให้บวช ท่านได้บวชเป็นสามเณร
อยู่สามปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ (ไอร์แลนด์, 2546: 213)