Page 19 -
P. 19
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8 วารสารมนุษยศาสตร์
ด้านหลัง ผินหน้าไปทางบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้
ประทับอยู่เบื้องหน้า แม้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามก็ล้าง
เท้า แล้วเข้าไปยังเรือนส าหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหน้า ผินหน้า
ไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ประทับอยู่เบื้อง
หน้า (ปาฏลิคามิยสูตร: 173)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์
เสด็จเข้าเรือน จะทรงล้างพระบาทก่อน ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติก่อนจะเข้า
เรือนชาน ธรรมเนียมฝ่ายไทยก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าบ้านเรือนจะต้องล้างเท้าก่อน
เข้าบ้าน เนื่องจากคนไทยติดนิสัยนั่งบนพื้นมากกว่านั่งเก้าอี้ บริเวณหัวบันไดบ้าน
ในสมัยก่อน จะจัดวางภาชนะใส่น้ าวางไว้ที่หัวบันได เพื่อให้ผู้ที่จะขึ้นบ้านตักน้ า
ล้างเท้าก่อนขึ้นเรือนเพื่อความสะอาด และเมื่อจัดงานนิมนต์พระสงฆ์มาท าบุญ
เลี้ยงพระที่บ้าน ก็ต้องมีคนตักน้ าคอยล้างเท้าให้ท่านก่อนขึ้นเรือน ซึ่งเสฐียรโกเศศ
(2546: 18) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“...ส่วนชาวไทย เมื่อจะขึ้นบนเรือนก็ต้องถอดรองเท้า เพราะ
ต้องนั่งกับพื้น และพื้นก็สะอาดดีอยู่แล้วถ้าไม่ได้สวมรองเท้า ก็
ต้องล้างเท้าที่หัวบันไดเสียก่อน ซึ่งเขามีน้ าล้างเท้าใส่ภาชนะไว้
ให้ที่เชิงบันไดเรือน เหตุนี้เมื่อพระสงฆ์ก่อนจะขึ้นบนเรือน ถ้า
เป็นอย่างสมัยเก่า จึงต้องมีคนคอยล้างเท้าให้ท่าน จะให้ท่าน
ตักน้ า ซึ่งยังไม่กรองล้างเองดูไม่บังควร เพราะผิดวินัย”
ธรรมเนียมการล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ยังถือปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ดังที่ปรากฏในหนังสือศาสนพิธีส าหรับภิกษุสามเณรและประชาชน ภาคพิธีการ
ท าบุญและอนุโมทนาวิธีว่า “การต้อนรับพระสงฆ์ควรจัดหรือส่งผู้ใดผู้หนึ่งให้เตรียม
คอยต้อนรับพระ และเตรียมน้ าไว้ส าหรับล้างเท้าพระ เมื่อพระมาถึงแล้วพึงออกไป
นิมนต์ แล้วล้างเท้าเช็ดเท้าที่เปียกให้ และพาไปยังที่พัก” (ศาสนพิธีส าหรับภิกษุ
สามเณรและประชาชน ภาคพิธีการท าบุญและอนุโมทนาวิธี, 2540: 7)