Page 14 -
P. 14
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 3
หลักธรรมค าสอนที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเหล่าภิกษุสงฆ์แล้ว คัมภีร์อุทานยัง
ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมและประเพณีทางศาสนาทั้งของพระสงฆ์และ
ฆราวาสที่ควรถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอีกด้วย
การศึกษาพระคัมภีร์และงานเขียนทางศาสนาถือเป็นแหล่งข้อมูลส าคัญ
ในการศึกษาคติชนวิทยา ดังที่เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (2546: 61) กล่าวไว้ว่า “พระ
คัมภีร์ก็มีการกล่าวอ้างถึงธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมของพื้นบ้าน” ศาสนามี
อิทธิพลอย่างมากต่อธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรม ดังจะเห็นได้จากประเพณีของ
ชาวไทยตั้งแต่เกิดจนตายมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น
จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักคัมภีร์อุทานมาก
ขึ้น และเพื่อชี้ให้เห็นธรรมเนียมและประเพณีทางศาสนาบางประการที่
พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
ความหมายของธรรมเนียมและประเพณี
ค าว่า ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี เป็นค าที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน บางครั้งใช้
ต่อเนื่องเป็นค าเดียวว่า ขนบธรรมเนียมประเพณี แท้จริงแล้วค าว่า ขนบ และธรรมเนียม
ถือเป็นประเภทหนึ่งของประเพณี ดังที่เสฐียรโกเศศ (2517: 174) ให้ความหมายประเพณี
(tradition) ไว้ว่า “การกระท าด้วยกิริยาอาการใดๆ ซึ่งประพฤติกันอยู่บ่อยๆ จนเป็น
นิสัยความเคยชิน และมีการถ่ายทอดและสืบๆ ต่อเป็นแบบอย่างกันมาในส่วนรวม”
และจ าแนกประเพณีเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จารีตประเพณี (mores) ขนบประเพณี
(institution) และธรรมเนียมประเพณี (convention)
จารีตประเพณี เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม ซึ่งคนในสังคมนับถือว่าเป็น
สิ่งมีค่าแก่ส่วนรวม ถ้าใครฝ่าฝืนหรืองดเว้นไม่กระท าตามประเพณี ก็ถือว่าเป็นผิด
เป็นชั่ว (เสฐียรโกเศศ, 2514: 9)