Page 13 -
P. 13
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 วารสารมนุษยศาสตร์
Abstract
This article aims to investigate the merits of the Utāna in passing
on knowledge on religious customs and traditions for laymen. It is found
that the Utāna explains various customs and traditions in the Buddha era,
including having an audience with the Buddha, salutation and welcoming
customs, merit making and food offering to monks, ordination, and
cremation. Some of the customs and traditions have been carried on until
present. This study points out the merits of the Utāna as a guideline for
laymen to follow and also as useful information for studying the
relationship between folk wisdoms and religions.
ความน า
คัมภีร์อุทาน หรือ “พระวจนะที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัย
บันดาล” เป็นส่วนหนึ่งของพระสุตตันตปิฎก ในคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี เป็นเล่มที่
3 แห่งขุททกนิกาย อยู่ระหว่าง พระธรรมบทกับอิติวุตตกะ (ไอร์แลนด์, 2546: 1) คัมภีร์
อุทานประกอบด้วยเทศนกถาจ านวน 80 เรื่อง แบ่งออกเป็น 8 บท (วรรค; chapter) ได้แก่
โพธิวรรคที่1 มุจลินทวรรคที่ 2 นันทวรรคที่3 เมฆิยวรรคที่ 4 โสณเถรวรรคที่ 5
ชัจจันธวรรคที่ 6 จูฬวรรคที่ 7 ปาฏลิคามิยวรรคที่ 8 “ชื่อเรื่อง ‘อุทาน’ หมายถึง
ถ้อยแถลง ส่วนมากเป็นร้อยกรองในตอนที่สุดแห่งเทศนกถา น าด้วยค าต่อไปนี้
‘ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงค านึงหมายนัยส าคัญดังนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ใน
เวลานั้นว่า’ (อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ตาย เวลาย อิม อุทาน อุทาเนสิ)
ดังนั้น อุทาน จึงหมายถึงการเปล่งวาจาที่เกิดจากความบันดาลใจที่ลึกซึ้ง หลั่งไหล
ออกมาเป็นธรรมชาติ” (ไอร์แลนด์, 2546: 1)
คัมภีร์อุทานคัดตัดตอนมาจากพระไตรปิฎกบาลีในที่ต่างๆ กล่าวถึง
เหตุการณ์ตั้งแต่พระพุทธเจ้าบรรลุสัมโพธิญาณจนถึงปรินิพพาน เนื้อหาในคัมภีร์
อุทานนอกจากจะกล่าวถึงพุทธกิจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ