Page 15 -
P. 15
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4 วารสารมนุษยศาสตร์
ขนบประเพณี คือประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้โดยตรงหรือ
โดยปริยาย โดยตรงคือวางเป็นระเบียบพิธีการไว้แจ้งชัด โดยปริยายคือรู้กันเอง
และไม่ได้วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้ ว่าควรจะประพฤติและปฏิบัติกันอย่างไร
ขนบ แปลว่า ระเบียบแบบแผน เช่น ขนบราชการคือระเบียบแบบแผนของราชการ
ขนบประเพณีลางทีก็เรียกว่า ระเบียบประเพณีซึ่งเป็นค าเกิดใหม่ เมื่อลืมค าแปล
ของค าว่าขนบเสียแล้ว (เสฐียรโกเศศ, 2514: 20)
ธรรมเนียมประเพณี คือประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีผิด
ไม่มีถูกเหมือนเรื่องจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบแบบแผนอย่างเรื่องขนบประเพณี
ผู้ใดท าผิดหรือฝ่าฝืนประเพณี ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสลักส าคัญอะไรนัก นอกจากจะ
เห็นว่าเป็นผู้ขาดการศึกษาหรือเสียสมบัติผู้ดีเท่านั้น ธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่อง
ที่นิยมและถือกันเป็นธรรมเนียมสืบๆ กันมาในหมู่คณะ เป็นอย่างเรื่องกริยา
มรรยาทเกี่ยวกับอิริยาบถทั้งสี่คือ ยืนเดิน นั่ง นอน ตลอดจนการกิน การพูดจา การ
แต่งตัว และการอื่นๆ อีกมากอย่าง สิ่งเหล่านี้ เด็กๆ ที่เกิดมา ย่อมได้รับการสั่งสอน
อบรมสืบต่อกันมา หรือไม่ก็ได้รับรู้ด้วยตนเองจากที่เห็นผู้ใหญ่หรือคนอื่นประพฤติ
กันอยู่เป็นตัวอย่าง (เสฐียรโกเศศ, 2514: 22-23)
นอกจากนี้ ยังมีค าว่า ประเพณีปรัมปรา ซึ่งหมายถึงประเพณีที่กระท ามา
แต่โบราณ อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้หากสภาพแวดล้อม ความเชื่อ สถานการณ์
ข้อจ ากัดของสังคมเปลี่ยนไป เช่น การบูชาผีบ้านผีเมือง ประเพณีขอฝน ประเพณี
บูชายัญ ประเพณีนางร้องไห้ในงานศพ เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ใช้ค าว่า ประเพณี กับสิ่งที่กระท ากันเป็นประจ า สิ่งที่กระท าอยู่
เสมอ เช่น ฟุตบอลประเพณี กีฬาประเพณี ประเพณีรับน้อง หรือสิ่งที่กระท ากันเสมอ
ในโอกาสหนึ่งๆ เช่น ประเพณีข้ามเส้นศูนย์สูตร ประเพณีมอบกุญแจเมืองแก่แขก
ส าคัญของประเทศ ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีสืบชะตา เป็นต้น
ค าส าคัญของบทความนี้คือ ค าว่า ธรรมเนียม และ ประเพณี ค าว่า ธรรม
เนียมในบทความนี้ผู้เขียนหมายถึงกิริยามารยาท อิริยาบถต่างๆ ที่ประพฤติปฏิบัติ
กันในสังคม ส่วนประเพณีในบทความนี้จะกล่าวถึงประเพณีทางศาสนา