Page 109 -
P. 109

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโดยหลักการการท าธุรกรรมแบบ Back-to-Back Transactions ขององค์กร

               กลางสามารถปิดความเสี่ยงได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วองค์กรกลางอาจมีความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องในการปิด
               สถานะโดยการใช้ตลาด TFEX เนื่องจากตลาด TFEX มีสภาพคล่องที่ค่อนข้างน้อย หากใช้ตลาดซื้อขาย

               ยางพาราล่วงหน้าในต่างประเทศที่มีสภาพคล่องมากกว่า เช่น SICOM, TOCOM หรือ SHFE จะมีความเสี่ยง

               ทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) นอกจากนั้นทั้งองค์กรกลางและเกษตรกรอาจมีความเสี่ยง
               ทางด้าน Basis Risk เนื่องจากสินทรัพย์อ้างอิงในตลาด TFEX เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งอาจเป็นคนละชนิด

               กับสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญา Forward และที่ส าคัญองค์กรกลางจะเปิดกับความเสี่ยงจากการบิดพลิ้วของ
               เกษตรกรเมื่อเกษตรกรต้องช าระเงินส่วนต่างให้แก่องค์กรกลาง (Counterparty Risk) ในกรณีที่ราคายางสูงขึ้น

               ในอนาคต


                       ประเด็นส าคัญที่จะต้องพิจารณาทางด้านนโยบายของทางเลือกนี้คือ การก าหนดองค์กรผู้รับผิดชอบ

               จะจัดตั้งขึ้นใหม่หรือใช้หน่วยงานภาครัฐที่มีอยู่เดิมในการด าเนินการ ความสามารถบุคลากรขององค์กรที่จะเข้า
               มาท าหน้าที่ดังกล่าว ตลอดจนแหล่งที่มาของงบประมาณในการจัดตั้งและด าเนินงาน กระบวนการในการช าระ

               เงินเมื่อสัญญาครบก าหนด และที่ส าคัญแนวทางการบริหารความเสี่ยงขององค์กรกลางในรายละเอียด รวมทั้ง

               การประเมินโอกาสและขนาดของความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น (Potential Losses) ในแต่ละทางเลือกของการ
               บริหารความเสี่ยง นอกจากนั้นยังต้องก าหนดคุณสมบัติของเกษตรกรที่สามารถท าธุรกรรมนี้ได้เนื่องจากองค์กร

               มีความเสี่ยงจากการบิดพลิ้วของเกษตรกร (Counterparty Risk)


                       3. การขายประกันความเสี่ยงทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อย (Price Insurance)


                       ทางเลือกนี้องค์กรกลางของภาครัฐขายประกันราคายางพาราแก่เกษตรกรรายย่อย โดยเกษตรกรจ่าย

               ค่าเบี้ยประกันแก่องค์กรนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาถ้าราคายางต่ ากว่าราคาที่ประกันไว้ องค์กรกลางจะจ่ายชดเชย

               ให้เกษตรกรรายย่อย ถ้าราคายางเฉลี่ยในช่วงการประกันสูงกว่าราคาที่รับประกัน เกษตรกรจะไม่ได้รับการ
               ชดเชยราคา โดยราคาที่ใช้ในการก าหนดการชดเชยของการประกันจะใช้ราคายางเฉลี่ยในช่วงการประกันเพื่อ

               ป้องกันการท าราคา  (Price Manipulation) นอกจากนั้นการใช้ราคายางเฉลี่ยยังเหมาะสมกับการช่วยลด
               ความผันผวนของราคาที่เกษตรกรรายย่อยมีจากการขายรายวันท าให้การบริโภคของเกษตรกรมีความ

               สม่ าเสมอ (Smooth Consumption) กว่าการใช้ราคา ณ วันครบก าหนดเพียงราคาเดียว และที่ส าคัญการ

               ประกันใช้ราคายางเฉลี่ยในช่วงการประกันส าหรับก าหนดการช าระเงินนั้น จะมีค่าเบี้ยประกันที่ต่ ากว่าการใช้
               ราคา ณ วันครบก าหนดเพียงราคาเดียว (เนื่องจากเป็น Asian Option) ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยที่มี

               สภาพคล่องส่วนเกินไม่มากนัก








                                                                                                        96
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114