Page 106 -
P. 106

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       นอกจากนั้น จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ามาซื้อ

               ขายในตลาด TFEX ซึ่งได้แก่ ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศ สหกรณ์
               ยางพาราและเกษตรกรรายใหญ่ ก็น่าจะมีแนวโน้มที่เข้ามาซื้อขายในตลาด TFEX ที่น้อยเช่นเดียวกัน จากการ

               สัมภาษณ์ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ พบว่าสภาพคล่องการซื้อขายในตลาด TFEX ปัจจุบันยังมีปริมาณซื้อขาย

               ค่อนข้างน้อยและมีความผันผวนของปริมาณการซื้อขายรายวันที่สูง โดยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.
               2561 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยระหว่าง 7-33 สัญญาต่อวัน ขณะที่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ค่าเฉลี่ย ณ

               ตั้งแต่วันที่ 1-14 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เท่ากับ 222 สัญญาต่อวัน ซึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้ส่งออกราย
               ใหญ่เข้ามาช่วยท าหน้าที่สร้างสภาพคล่องให้กับตลาด (Market Maker) แต่ไม่ได้มีการส่งมอบจริงโดยค าสั่งซื้อ

               ขายจะถูกปิดสถานะก่อนสัญญาครบก าหนด ดังจะเห็นได้จากการที่สถานะคงค้าง (Open Interest) ของ

               สัญญาล่วงหน้าค่อนข้างต่ า อาจส่งผลให้ผู้ส่งออกยางพารามีความเสี่ยงในการปิดสถานะค าสั่งซื้อขายได้ จึงไม่
               กล้าเข้ามาซื้อขายในตลาด TFEX อีกทั้งในกรณีผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ๆ ของโลกก็ยังไม่สนใจเข้ามาซื้อ

               ขายในตลาด TFEX ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการซื้อขายก าหนดราคาในรูปของสกุลเงินบาท ท าให้ผู้ผลิตยางล้อ
               รถยนต์มีความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน จากเหตุผลดังที่กล่าวมาท าให้ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของ

               ไทยและผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลกมักจะป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า

               ต่างประเทศ เช่น ตลาด SICOM เนื่องจากมีสภาพคล่องที่สูงกว่า และไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX
               Risk) ขณะเดียวกันสินทรัพย์อ้างอิงในตลาดซื้อขายล่วงหน้า TFEX ยังมีเพียงชนิดเดียวคือยางแผ่นรมควันชั้น 3

               ขณะที่ผู้ส่งออกยางพาราต้องการให้มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นยางแท่ง STR 20 ด้วย เนื่องจากในปัจจุบันสัดส่วน

               การซื้อขายยางพาราส่วนใหญ่อยู่ในรูปยางแท่ง STR 20 มากกว่ายางแผ่นรมควันชั้น 3


                       ในกรณีของผู้ผลิตที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักในประเทศ เช่น บริษัทผู้ผลิตยางล้อรถยนต์นั้น เห็นว่า
               การซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX นั้นต้องมีการวางเงินหลักประกันและไม่มีความยืดหยุ่นในการส่ง

               มอบ รวมถึงไม่สามารถก าหนดคุณสมบัติของยางพาราให้เหมาะสมกับความต้องการของบริษัทตนได้ ขณะที่

               บริษัทสามารถท าการตกลงซื้อขายยางพาราล่วงหน้าแบบ Forward โดยตรงกับบริษัทผู้ส่งออกยางพารา
               สหกรณ์ยางพาราหรือเกษตรกรรายใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึง

               ข้อมูลข่าวสารของคู่ค้าในปัจจุบัน ท าให้ความเสี่ยงในการบิดพลิ้ว (Counterparty Risk) ที่จะไม่ปฏิบัติตาม
               ข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าระหว่างกันมีน้อย จึงไม่จ าเป็นต้องซื้อขายล่วงหน้าผ่านตลาด TFEX ซึ่งเป็นการซื้อขาย

               ยางพาราล่วงหน้าแบบ Futures ที่ต้องวางเงินหลักประกันและมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าดังที่กล่าวมาแล้ว


                       โดยรวม ความไม่เหมาะสม (Suitability) ของสินค้าอ้างอิงและกระบวนการซื้อขายของตลาด TFEX

               กับผลิตภัณฑ์ยางและการด ารงชีพของเกษตรกร การที่เกษตรกรขาดความเข้าใจกลไกการซื้อขายในตลาด

               Futures ประกอบกับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพารามีแนวโน้มที่จะใช้ตลาดยางพาราล่วงหน้าใน
               ต่างประเทศหรือการท า Forward โดยตรงมากกว่าตลาด TFEX ท าให้นโยบายของคณะท างานเตรียมการ





                                                                                                        93
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111