Page 104 -
P. 104

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ข้างหน้าของตลาด SICOM มีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกอย่างมีนัยส าคัญกับราคายางเงินสดของไทย (แต่มีค่า

               สัมประสิทธิ์ที่ค่อนข้างสูง) ในการทดสอบสมมติฐานรวมถึงความมีประสิทธิภาพของราคายางพาราล่วงหน้า
               พบว่าตลาด TOCOM และ SHFE ของทุกอายุสัญญาไม่มีประสิทธิภาพ มีเพียงสัญญาที่ครบก าหนดใน 6 เดือน

               ข้างหน้าของตลาด SICOM เท่านั้นที่มีประสิทธิภาพ (แต่อาจมีปัญหาทางด้านสภาพคล่องได้) ดังนั้นการใช้ราคา

               ยางพาราล่วงหน้าจากตลาดต่างประเทศทั้ง 3 ตลาด ในการป้องกันความเสี่ยงราคายางของไทยจะต้องท าด้วย
               ความระมัดระวังเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างราคาล่วงหน้าและราคาเงินสดไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎี


                       ส าหรับพฤติกรรมความต้องการการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงของ

               เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย จากการส ารวจกลุ่มตัวอย่างของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยจาก 3

               ภาค คือภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/เหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี) และภาคตะวันออก/
               กลาง (จังหวัดจันทบุรี) จ านวน 396 ราย พบว่าเกษตรกรรายย่อยมีการรู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า

               (TFEX) น้อยมาก กล่าวคือ มีเพียง 17.42% เท่านั้นที่รู้จักหรือเคยได้ยินตลาด TFEX ในจ านวนดังกล่าว
               เกษตรกรรายย่อยบางรายยังเข้าใจผิดว่าเป็นตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (Forward Market) ที่ตลาดกลาง

               ยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี บางรายยังเข้าใจว่าเป็นตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในต่างประเทศ

               นอกจากนั้นเมื่อสอบถามถึงความต้องการใช้ (หรือเคยใช้) ตลาดล่วงหน้าพบว่า เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ไม่
               คิดที่จะใช้ตลาด TFEX มีเพียง 10.35% เท่านั้นที่คิดที่จะใช้ (เคยใช้) ตลาด TFEX การส ารวจยังพบว่าเกษตรกร

               ส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในเรื่องกลไกที่ส าคัญของตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Futures Market) เช่น ในเรื่องการ

               วางเงินประกันเริ่มต้น (Initial Margin Requirement) ในการเปิดบัญชีซื้อขาย ตลอดจนการที่เกษตรกร
               อาจจะถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเติมหากมีการขาดทุนเกินกว่าระดับที่ก าหนดไว้ หรือบางรายเข้าใจว่าจะได้รับ

               การช่วยเหลือจากรัฐบาลเมื่อเกิดการขาดทุน เป็นต้น


                       เมื่อพิจารณาจากมุมมองของเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ที่มักขายน้ ายางหรือยางถ้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์

               ที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน (Storability) เพื่อการส่งมอบในอนาคต และการที่เกษตรกรรายย่อยมีความ
               ต้องการรายได้เพื่อใช้จ่ายประจ าวัน การใช้ผลิตภัณฑ์ใน Futures Market เพื่อบริหารความเสี่ยงทางด้านราคา

               อาจไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบอาชีพของเกษตรกรรายย่อย และการที่สินค้าอ้างอิงในตลาด TFEX
               เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ยังท าให้เกษตรกรรายย่อยเปิดกับความเสี่ยง (Basis Risk) ซึ่งเกิดจากการที่

               ราคาน้ ายางหรือยางถ้วยไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คาดการณ์ได้อย่างแน่นอนกับราคายางแผ่นรมควันชั้น 3

               อีกด้วย


                       นอกจากนั้นการที่เกษตรกรไม่ใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าประเภท Futures นั้น ไม่น่าจะเกิด

               จากความไม่มีทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ของเกษตรกร เนื่องจากการส ารวจพบว่าโดยรวม
               เกษตรกรรายย่อยของกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางการเงินที่ค่อนข้างดีโดยการทดสอบมาตรฐานจ านวน 4 ข้อที่

               ประยุกต์จาก Lusardi and Mitchell (2007) เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยทบต้น ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง


                                                                                                        91
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109