Page 103 -
P. 103
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 8
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บทนี้เป็นการสรุปผลการศึกษาของงานวิจัย โดยส่วนที่ 8.1 สรุปและอภิปรายผลการศึกษาที่ส าคัญ
ส่วนที่ 8.2 เสนอทางเลือกด้านนโยบายในการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย ส าหรับในส่วนสุดท้าย
ส่วนที่ 8.3 เป็นข้อสรุปพร้อมทั้งเสนอแนะหัวข้อที่ควรได้รับการศึกษาต่อไป
8.1 สรุปผลการศึกษาที่ส าคัญ
งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมความต้องการการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในการป้องกันความ
เสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรคของการเข้าถึงตลาดซื้อขาย
ยางพาราล่วงหน้า โดยเริ่มจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยรวมพบว่า
พลวัตและความสัมพันธ์ของราคาโภคภัณฑ์ล่วงหน้าและราคาเงินสดเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนมีการ
เปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างทางด้านสถาบันของตลาด มีงานวิจัยจ านวนมากและการศึกษาด้วยวิธีการที่
หลากหลายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามีประสิทธิภาพ
หรือไม่ ส าหรับทางด้านพฤติกรรมในการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรรายนั้น การศึกษาชี้ว่าต้นทุน (ราคา)
สภาพคล่อง ความรู้ทักษะทางการเงินและความเข้าใจผลิตภัณฑ์ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) และ
ความเชื่อถือ (Trust) มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร ส าหรับการศึกษาเกี่ยวกับยางพาราล่วงหน้าของไทย
ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาทางด้านประสิทธิภาพตลาด AFET แต่ในขณะนี้ได้เลิกด าเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2559
การศึกษาที่ส ารวจความคิดเห็นของผู้ใช้ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามักเน้นการป้องกันความเสี่ยงของ
ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ แต่มีกลุ่มตัวอย่างที่จ ากัดทั้งขนาดและพื้นที่ครอบคลุม การศึกษาที่เกี่ยวกับการ
บริหารความเสี่ยงของเกษตรกรนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยทั่วไปไม่ได้เน้นการ
ใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย
เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจการจัดการความเสี่ยงทางด้านราคาโดยการใช้ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
การศึกษานี้จึงเริ่มจากการศึกษาความสัมพันธ์ของราคายางพาราเงินสด (ตลาดกลางหาดใหญ่) กับราคา
ล่วงหน้าและความมีประสิทธิภาพของตลาดล่วงหน้า แต่เนื่องจากตลาดซื้อขายล่วงหน้า AFET ซึ่งได้ปิด
ด าเนินการและอยู่ในระหว่างช าระบัญชีท าให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในอดีตของไทยได้ และข้อมูลจากตลาดซื้อ
ขายล่วงหน้า TFEX ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเนื่องจากเพิ่งเปิดด าเนินการในขณะที่ศึกษาและมีสภาพคล่อง
ค่อนข้างน้อย การศึกษานี้จึงใช้ราคายางพาราล่วงหน้าจากตลาด TOCOM, SICOM และ SHFE ซึ่งพบว่าราคา
ยางพาราล่วงหน้าของตลาด SICOM อาจเป็นตลาดที่สามารถใช้ในการบริหารความเสี่ยงราคายางของไทยได้ดี
ที่สุดจากสามตลาดล่วงหน้าที่ศึกษา กล่าวคือสัญญาที่จะหมดอายุใกล้ที่สุด และที่ครบก าหนดใน 3 เดือน
90