Page 101 -
P. 101

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               โดยโอกาสที่เกษตรกรเพศหญิงต้องการใช้ตลาด TFEX ลดลง 0.53 เท่า (e     -0.627 ) หรือลดลง 47% เมื่อ

               เปรียบเทียบกับเกษตรกรเพศชาย ส่วนโอกาสที่เกษตรกรในระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปต้องการใช้
               ตลาด TFEX เท่ากับ 2.74 เท่า (e  1.008 ) เมื่อเทียบกับเกษตรกรในระดับการศึกษาต่ ากว่าประถมศึกษาปีที่ 6

               และโอกาสที่เกษตรกรมีการพึ่งพารายได้จากยางตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ต้องการใช้ตลาด TFEX ลดลง 0.45 เท่า (e

               -0.796 ) หรือลดลง 55% เมื่อเทียบกับเกษตรกรมีการพึ่งพารายได้จากยางน้อยกว่า 50%


                       ตัวแบบที่ 5 พบว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อโอกาสความต้องการใช้ตลาด TFEX ได้แก่ การพึ่งพารายได้
               จากยาง และการรู้จักตลาด TFEX ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยมีนัยส าคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยในกลุ่ม

               ที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล กลุ่มที่ 2 ทักษะการเงินและทัศนคติด้านความเสี่ยง และกลุ่มที่ 4 ลักษณะทาง

               สังคมไม่พบนัยส าคัญทางสถิติ โดยโอกาสที่เกษตรกรมีการพึ่งพารายได้จากยางตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ต้องการใช้
               ตลาด TFEX ลดลง 0.46 เท่า (e  -0.775 ) หรือลดลง 54% เมื่อเทียบกับเกษตรกรมีการพึ่งพารายได้จากยางน้อย

               กว่า 50% ส่วนโอกาสที่เกษตรกรไม่รู้จักตลาด TFEX ต้องการใช้ตลาด TFEX ลดลง 0.10 เท่า (e  -2.309 ) หรือ
               ลดลง 90% เมื่อเทียบกับเกษตรกรที่รู้จักตลาด TFEX



                       กล่าวโดยสรุปคือ ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการรู้จักตลาด TFEX ได้แก่ ภาค (จังหวัด) ที่เกษตรกรอาศัย
               ระดับการศึกษา และขนาดพื้นที่ปลูกยางของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อโอกาส

               ความต้องการใช้ตลาด TFEX ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย ได้แก่ ระดับการศึกษา และการพึ่งพา

               รายได้จากยาง โดยในกลุ่มทักษะการเงินและทัศนคติด้านความเสี่ยง และกลุ่มลักษณะทางสังคมไม่พบ
               นัยส าคัญทางสถิติ


               7.3 สรุปผลการศึกษา



                       ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการรู้จักตลาด TFEX ของผู้ปลูกยางพารารายย่อยพบว่า เกษตรกรที่ปลูกยางใน
               ภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรี) รู้จักตลาด TFEX มากกว่าเกษตรกรภาคอื่น และเกษตรกรที่มีระดับการศึกษา

               มัธยมศึกษาขึ้นไปมีโอกาสการรู้จักตลาด TFEX น้อยกว่า ซึ่งผลดังกล่าวขัดแย้งกับที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งสาเหตุของ
               ผลดังกล่าวอาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ตอบว่ารู้จักมีการศึกษาต่ ากว่ามัธยมศึกษาเข้าใจผิดระหว่าง

               ตลาด TFEX กับตลาดกลางซื้อขายล่วงหน้า (Forward Market) หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ

               นอกจากนี้เมื่อเกษตรกรมีขนาดพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นจะท าให้โอกาสที่เกษตรกรรู้จักตลาด TFEX ลดลง


                       ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่เกษตรกรต้องการใช้ (หรือเคยใช้) ตลาด TFEX ในการ

               บริหารความเสี่ยง พบว่ามีเพียง เพศ ระดับการศึกษา และการพึ่งพารายได้จากการปลูกยาง ที่มีนัยส าคัญทาง
               สถิติ กล่าวคือเกษตรกรเพศหญิงมีโอกาสที่ต้องการใช้ตลาด TFEX น้อยกว่าเกษตรกรเพศชาย และเกษตรกรที่

               มีการศึกษาระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสที่ต้องการใช้ตลาด TFEX ในการบริหารความเสี่ยงสูงกว่า


                                                                                                        88
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106