Page 98 -
P. 98
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 7.5 ผลการวิเคราะห์การรู้จักตลาด TFEX ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย (N=396)
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ (Coefficient) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: SE) และค่าความน่าจะ
−( 0 +∑ + )
เป็น (P-value: P) ของสมการ Logistic Regression: ( = 1) = โดยที่ คือ
1+ −( 0 +∑ + )
ตัวแปรตาม (การรู้จักตลาด TFEX = 1 และไม่รู้จัก = 0) และ คือ ตัวแปรอิสระ (รายละเอียดแสดงไว้ใน
ตารางที่ 7.2)
Coefficient SE P
(Intercept) 2.827 1.109 0.011 **
Region Code2 0.464 0.801 0.562
Region Code3 1.246 0.596 0.037 **
Edu Code2 -1.073 0.304 0.000 ***
Edu Code3 -1.330 0.479 0.006 ***
Career Code2 -0.093 0.430 0.829
Career Code3 -0.086 0.437 0.844
Log (Size) -0.555 0.212 0.009 ***
RubberType Code2 0.832 0.685 0.225
RubberType Code3 -0.875 0.814 0.282
Pseudo R 0.103
2
หมายเหตุ: *** คือ p < 0.01, ** คือ p < 0.05 และ * คือ p < 0.1
จากตารางที่ 7.5 พบว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อโอกาสการรู้จักตลาด TFEX ได้แก่ ภาค (จังหวัด) ที่
เกษตรกรอาศัย ระดับการศึกษา และขนาดพื้นที่ปลูกยางของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยมีนัยส าคัญทาง
สถิติ โดยโอกาสที่เกษตรกรในภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรี) รู้จักตลาด TFEX เท่ากับ 3.48 เท่า (e 1.246 )
เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) ส่วนโอกาสที่เกษตรกรในระดับการศึกษามัธยมถึง
ปวส. รู้จักตลาด TFEX ลดลง 0.34 เท่า (e -1..073 ) หรือลดลง 66% เมื่อเทียบกับเกษตรกรในระดับการศึกษาต่ า
กว่าประถมศึกษาปีที่ 6 ในขณะที่โอกาสที่เกษตรกรในระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปรู้จักตลาด TFEX
ลดลง 0.26 เท่า (e -1.330 ) หรือลดลง 74% เมื่อเทียบกับเกษตรกรในระดับการศึกษาต่ ากว่าประถมศึกษาปีที่ 6
ทั้งนี้อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นั้นมีระดับการศึกษาต่ ากว่าประถมศึกษาปีที่
6 นอกจากนี้เมื่อเกษตรกรมีขนาดพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นจะท าให้โอกาสที่เกษตรกรรู้จักตลาด TFEX ลดลง 0.57
เท่า (e -0.555 ) หรือลดลง 43%
85