Page 105 -
P. 105
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค่าเงินตามเวลา ความเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ และการกระจายความเสี่ยง ประมาณ 60% ของกลุ่มตัวอย่างสามารถ
ตอบค าถามดังกล่าวได้ถูกต้องตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป นอกจากนั้นการไม่จัดการกับความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
ยังไม่ได้เป็นเพราะทัศนคติของเกษตรกรที่ชอบเสี่ยง เพราะจากการทดสอบพบว่าประมาณ 74% ของกลุ่ม
ตัวอย่างเกษตรกรมีทัศนคติที่ไม่ชอบความเสี่ยงหรือเสี่ยงน้อย
การส ารวจยังชี้ว่าปัญหาทางด้านสภาพคล่องอาจเป็นอุปสรรคในการใช้ตลาด Futures ของเกษตรกร
ที่ต้องมีวางเงินหลักประกันเริ่มต้น และการถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเติมหากมีขาดทุนเกินกว่าระดับที่ก าหนดไว้
จากการ Mark-to-Market เนื่องจากต้นทุนค่าเสียโอกาส (Implied Interest Rate) ของกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ย
สูงถึง 96% ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานสูงถึง 216% ต่อปี ดังนั้นผลการส ารวจในเบื้องต้นดังกล่าว
เหล่านี้ น่าจะแสดงถึงความไม่เหมาะสม (Suitability) ของผลิตภัณฑ์ Futures ส าหรับการจัดการความเสี่ยง
ของเกษตรกรรายย่อย
ส าหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติโดย Logistic Regression ถึงปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการรู้จักตลาด
TFEX ของผู้ปลูกยางพารารายย่อยพบว่า เกษตรกรที่ปลูกยางในภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรี) รู้จักตลาด
TFEX มากกว่าเกษตรกรภาคอื่น และเกษตรกรที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาขึ้นไปมีโอกาสการรู้จักตลาด
TFEX น้อยกว่า ซึ่งผลดังกล่าวขัดแย้งกับที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งสาเหตุของผลดังกล่าวอาจเป็นเพราะว่าเกษตรกร
ส่วนใหญ่ที่ตอบว่ารู้จักมีการศึกษาต่ ากว่ามัธยมศึกษาเข้าใจผิดระหว่างตลาด TFEX กับตลาดกลางซื้อขาย
ล่วงหน้า (Forward Market) หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ นอกจากนี้เมื่อเกษตรกรมีขนาดพื้นที่
ปลูกยางเพิ่มขึ้นจะท าให้โอกาสที่เกษตรกรรู้จักตลาด TFEX ลดลง
ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่เกษตรกรต้องการใช้ (หรือเคยใช้) ตลาด TFEX ในการ
บริหารความเสี่ยง พบว่ามีเพียง เพศ ระดับการศึกษา และการพึ่งพารายได้จากการปลูกยาง ที่มีนัยส าคัญทาง
สถิติ กล่าวคือเกษตรกรเพศหญิงมีโอกาสที่ต้องการใช้ตลาด TFEX น้อยกว่าเกษตรกรเพศชาย และเกษตรกรที่
มีการศึกษาระดับตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสที่ต้องการใช้ตลาด TFEX ในการบริหารความเสี่ยงสูง
กว่าเกษตรกรระดับการศึกษาอื่น แต่การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติกลับพบว่าเกษตรกรที่มีสัดส่วนการพึ่งพา
รายได้จากการปลูกยางสูงมีโอกาสที่ต้องการใช้ตลาดน้อยกว่าเกษตรกรที่มีสัดส่วนรายได้จากการปลูกยางต่ า
ซึ่งขัดแย้งกับที่แนวคิดทางด้านการเงินในเรื่องการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ส าหรับทักษะความรู้
ด้านการเงิน และทัศนคติด้านความเสี่ยง ตลอดจนเครือข่ายทางสังคมไม่พบว่ามีนัยส าคัญทางสถิติ ผลจากการ
วิเคราะห์ทางเศรษฐมิติอาจตีความได้ว่าตลาดซื้อขายล่วงหน้าแบบ Futures อาจไม่เหมาะสมกับการบริหาร
ความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้นซึ่งควรจะเป็นตัวก าหนดการตัดสินใจของ
เกษตรกรในการใช้ตลาด Futures ไม่สามารถอธิบายการตัดสินใจในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีนัยส าคัญ
ตามที่คาดไว้
92