Page 107 -
P. 107

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ปฏิรูปฯ ที่ต้องการให้ตลาด TFEX เป็นเครื่องมือของเกษตรกรในการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคาจึงเป็นไป

               ได้ค่อนข้างยาก


               8.2 ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบาย


                       จากข้อจ ากัดในการใช้และเข้าถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้าประเภท Futures ดังกล่าวข้างต้นในการ

               ป้องกันความเสี่ยงทางด้านราคาของเกษตรกรรายย่อย ผู้ก าหนดนโยบายภาครัฐอาจมีทางเลือกดังต่อไปนี้ (ดู
               สรุปข้อดีข้อเสียและประเด็นพิจารณาของทางเลือกเหล่านี้ในตารางที่ 8.1)



                       1. การประกันราคายางพาราของภาครัฐ


                       แนวทางนี้รัฐบาลประกาศราคารับประกันให้เกษตรกรทราบ โดยอาจใช้ราคาซื้อขายยางพารารูปแบบ
               ใดรูปแบบหนึ่งจากตลาดใดตลาดหนึ่งหรือหลายตลาดเป็นราคาอ้างอิง หากราคาซื้อขายยางพาราอ้างอิงเฉลี่ย

               ในช่วงเวลาที่ก าหนดต่ ากว่าราคารับประกัน เกษตรกรผู้ปลูกยางจะได้รับเงินชดเชยจากรัฐ


                       อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้จะเป็นภาระด้านงบประมาณแก่รัฐบาลค่อนข้างมาก ซึ่งอาจท าให้ไม่สามารถ

               ด าเนินการได้อย่างยั่งยืน รวมถึงอาจถูกใช้เป็นนโยบายเพื่อสร้างความนิยมโดยก าหนดราคารับประกันที่สูง

               เกินไป และไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเอง นอกจากนี้ยังมีความไม่ชัดเจนในหลาย
               ประเด็นที่ต้องพิจารณา เช่น ในเรื่องของเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยควรมีพื้นที่ปลูกยางเท่าใด จะต้อง

               ค านึงถึงพันธุ์ยางที่ปลูกซึ่งอาจให้ผลผลิตต่อไร่ไม่เท่ากันอย่างไร หากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิควรได้รับเงิน
               ชดเชยหรือไม่ แหล่งเงินงบประมาณที่จะมาสนับสนุนการด าเนินงานจะมาจากแหล่งใด เป็นต้น



                       2. การรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward


                       ทางเลือกนี้รัฐบาลจัดตั้งองค์กรกลางหรือมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ (เช่น กยท. หรือ ธ.ก.ส.) รับ
               ซื้อยางพาราล่วงหน้าจากเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการบริหารความเสี่ยงโดยใช้สัญญา Forward ที่ออกแบบให้

               เหมาะสมกับเกษตรกรแทนการที่ขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด Futures ที่เป็นสัญญามาตรฐาน เนื่องจาก

               สัญญา Forward เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ง่ายและยืดหยุ่นสามารถออกแบบให้เหมาะกับผู้ใช้ ไม่มีปัญหา
               เรื่องการวางเงินหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin Requirement) ในการเปิดบัญชีซื้อขาย  ตลอดจนการที่
                                                                                           16
               เกษตรกรอาจจะถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเติม (Maintenance Margin) จากกระบวนการ Mark-to-Market ที่

               เป็นอุปสรรคของเกษตรกรรายย่อยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงท าให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงการใช้สัญญา


               16  หากมีการควบคุมและกระบวนการติดตามความเสี่ยงทางด้านการผิดนัดช าระ (Counterparty Risk) ที่ดี เช่น ผ่านทางสหกรณ์ที่เกษตกรเป็น
               สมาชิก หรือ ธ.ก.ส. ถ้าเกษตรกรเป็นลูกค้าอยู่

                                                                                                        94
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112