Page 112 -
P. 112
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8.3 ข้อสรุปและการศึกษาต่อไป
ผลของการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า นโยบายที่ต้องการให้ตลาดเกษตรล่วงหน้าแบบ Futures เป็น
เครื่องมือของเกษตรกรในการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคาจึงอาจเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากความไม่
สอดคล้องของสินค้าอ้างอิง (RSS3) กับผลิตภัณฑ์และการด ารงชีพของเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรเหล่านี้ส่วน
ใหญ่ขายยางถ้วยและน้ ายางสดและมีสภาพคล่องที่จ ากัด นอกจากนั้นความยุ่งยากของกลไกและกระบวนการ
ในการซื้อขายของตลาด Futures ยังอาจเป็นอุปสรรคในการใช้ตลาดล่วงหน้าของเกษตรกรรายย่อย
นอกจากนั้น ส าหรับที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพารา เช่น ผู้ส่งออกนิยมใช้ตลาดยางพารา
ล่วงหน้าในต่างประเทศเพราะไม่มีปัญหาทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนของคู่ค้าที่ต้องการท าธุรกรรมในรูปเงินตรา
ต่างประเทศอีกทั้งยังมีสภาพคล่องที่สูงกว่า ขณะที่อุตสาหกรรมผู้ใช้ยางเพื่อการผลิตรายใหญ่ๆในประเทศมัก
นิยมใช้การท า Forward โดยตรงกับกลุ่มผู้ผลิตเนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องของขนาดสัญญาและการส่ง
มอบมากกว่า ตลอดจนความก้าวหน้าของการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่สะดวกขึ้นในปัจจุบันยัง
ช่วยลดความเสี่ยงในการไม่ส่งมอบของคู่ค้า (Counterparty Risk) ท าให้ผู้ใช้ยางในการผลิตไม่จ าเป็นต้อง
พึ่งพาการใช้ในตลาด Futures
ทางเลือกทางนโยบายอื่นในการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อยประกอบด้วย 1) การประกัน
ราคายางพาราของภาครัฐ 2) การรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward 3) การขายประกันความเสี่ยง
ทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อย (Price Insurance) ถึงแม้ว่าแต่ละทางเลือกจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่าง
กัน ในการประเมินเบื้องต้น การขายประกันความเสี่ยงทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อยน่าจะมีความ
เหมาะสมที่สุด เนื่องจากการประกันราคายางพาราของภาครัฐเป็นภาระด้านงบประมาณที่สูงท าให้ไม่มีความ
ยั่งยืนและไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเอง ส่วนการรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward นั้น
ปัญหาที่ส าคัญคือความเสี่ยงในการช าระส่วนต่างจากเกษตรกรเมื่อราคายางสูง (Counterparty Risk) ซึ่งถ้า
ขาดกลไกในการจัดการความเสี่ยงในเรื่องนี้ที่มีประสิทธิภาพ ทางเลือกนี้อาจสร้างภาระแก่ภาครัฐในระยะยาว
ได้
ส าหรับการขายประกันความเสี่ยงทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อย (Price Insurance) ถึงแม้
เกษตรกรต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันก่อนซึ่งอาจมีผลต่ออัตราการเข้าใช้ (Take-up Rate) ของเกษตรกร แต่
การประกันความเสี่ยงทางด้านราคายางมีปัญหาในเรื่องความคลุมเครือ (Ambiguity) ค่อนข้างน้อย และการใช้
ราคาเฉลี่ยในการช าระราคาท าให้ซึ่งเป็นลักษณะ Asian Put Option จะมีค่าเบี้ยประกันต่ าที่จะไม่เป็นภาระ
ทางด้านสภาพคล่องของเกษตรกรมากนัก อีกทั้งยังช่วยลดความกังวลของเกษตรกรเกี่ยวกับการท าราคา
(Price Manipulation) ราคาสินทรัพย์อ้างอิงได้ ดังนั้นหากมีการศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์การประกันที่
เหมาะสมกับเกษตรกร และแนวทางการบริหารความเสี่ยง (Hedge) ขององค์กรกลางของภาครัฐ ทางเลือกการ
99