Page 83 -
P. 83

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                                               (๑๐) “ความสุขคือการเรียนรู้”


                       อังคาร กัลยาณพงศ์  “ความสุขคือการเรียนรู้”


                       “เรียนรู้ประวัติศาสตร์มนุษยโลกและจักรวาล   พระบรมครูปูชนียบุคคล   เช่น  พระพุทธเจ้าและ
               พระอรหันต์ทั้งปวง  ทั้งพระโพธิสัตว์   และครูบาอาจารย์อัจฉริยะมนุษย์ทั้งหลายแสวงการเรียนรู้จากครูที่รู้

               จริงแท้  แล้วสั่งสอนตัวเอง  สุ จิ ปุ ลิ  อยู่ในภวังค์มิติใหม่แห่งดวงใจนักปราชญ์   พยายามเรียนรู้เพื่อมี

               สติปัญญาเลอเลิศสูงสุด  สอนตัวเอง  เข้มงวดกับตัวเอง  ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเอง   ถึงจะมีครูบา

               อาจารย์ที่ดี   ก็ไม่เท่าเราเป็นครูบาอาจารย์สอนจิตวิญญาณของตัวเราเอง”  ลายมืออันวิจิตรโดดเด่นของ

               “อังคาร กัลยาณพงศ์”  หรือที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเรียกด้วยความเคารพยกย่องว่า  “ท่านอังคาร”  ปรากฏ
               ออกมาเป็นบทกวี  บอกเล่าเรื่องราว “การเรียนรู้”...

                       ท่านอังคารเกิดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๙ ที่ จ.นครศรีธรรมราช  ร ่าเรียนชั้นประถมศึกษาและ

               มัธยมศึกษาในจังหวัดบ้านเกิด  ความที่มีใจรักทางศิลปะ  ท่านอังคารจึงมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อ

               ศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง   จากนั้นใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาในรั้วศิลปากร   คณะจิตรกรรม ประติมากรรม
               และภาพพิมพ์ - สถานที่บ่มเพาะศิลปินชั้นเยี่ยมของเมืองไทย

                       ท่านอังคารมีพรสวรรค์และความสามารถในเชิงจิตรกรรมและวรรณศิลป์ อย่างเอกอุ   โดยเฉพาะ

               ด้านการประพันธ์บทกวี   ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความไพเราะ   ความงดงาม  และความทรงพลัง   ซึ่ง

               ผลงานที่กลั่นจากความคิด  จินตนาการ  และประสบการณ์ของท่านอังคาร  มีอยู่มากมาย  อาทิ  กวีนิพนธ์
               ล าน าภูกระดึง  บางบทจากสวนแก้ว  นิราศนครศรีธรรมราช  หยาดน ้าค้างคือน ้าตาของเวลา ฯลฯ

                       ความเชี่ยวชาญเชิงกวี  ส่งให้ท่านอังคารได้รับหลายรางวัล   เช่น  รางวัลซีไรต์  จากผลงาน

               “ปณิธานกวี” ในปี ๒๕๒๙ และในปี ๒๕๓๒  ท่านอังคารก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ  สาขา

               วรรณศิลป์

                       ในวัย ๘๓ ปี แม้ท่านอังคารจะเจ็บป่วยอยู่บ้างแต่ก็ไม่หนักหนาถึงขั้นเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์
               “กวีนิพนธ์” อันเป็นงานที่เปรียบเสมือน “ลมหายใจ” ของท่าน

                       “มนุษย์เราต้องเรียนรู้  ถ้าไม่เรียนรู้ก็นึกไม่ออกว่ามาจากไหน  พอร้องอุแว้  พ่อแม่ก็เริ่มสอนให้รู้เห็น

               ถ้าไม่เรียนก็เป็นไอ้แต้มหน้าบ้านแล้ว”  ท่านอังคารเริ่มต้นบทสนทนา  พลางปรายตามองไปที่สุนัข “แต้ม” ที่

               วิ่งไปวิ่งมาอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก  ก่อนพูดถึงเรื่อง “การเรียนรู้” ที่เชื่อมโยงไปถึง “ความสุข” ว่า...

                       “แม้แต่ปูนาในนาก็ยังต้องเรียน  ควายจะไถนาก็ต้องเรียน  ชาวนาต้องฝึกควายไว้ไถนา  มีภาษาที่
               ใช้สื่อสารกับควาย  มีการเรียนรู้  กบยังต้องเรียนรู้  อย่างที่คนโบราณบอกว่า  พอกบร้องก็แสดงว่ากบรู้แล้ว

               ว่าฝนจะมา   มนุษย์ต้องเรียนรู้ทุกคน   คนที่ไม่เรียนเลยก็เหมือนมนุษย์อยู่ถ ้า   หรือแม้แต่มนุษย์ถ ้าจะท า









                                                           ๗๗
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88