Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       37


               5. โรคสะแคบ

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการเกิดที่ใบ กิ่ง ผล อาการบนใบ นูน แข็งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1-0.2 ซม. มีสี

               นํ้าตาลเป็นแผลขรุขระ ตกสะเก็ด คล้ายหูด ด้านที่นูนมีขุยสีนํ้าตาล ด้านล่างแผลจะบุ๋มทําลายใบให้บิดหรือ
               ขาดเว้าแหว่ง อาการที่กิ่งจะเป็นกับกิ่งอ่อนเกิดเผลจุดนูนสีนํ้าตาล อาการบนผลที่เชื้อราทําลาย ทําให้เกิดแผล

               นูน ผิวผลส่วนที่ถูกทําลายนี้ไม่ค่อยมีเสียหายมากนัก นอกจากแผลจะนูนขึ้น ส่วนปลายยอดแผลมีสีนํ้าตาล

               ตกสะเก็ดหรือเกิดขุยขึ้นได้ ทําให้ผิวขรุขระ โรคนี้ไม่ค่อยมีมาก จะเกิดขึ้นเพียงประปรายเท่านั้น หากเกิดที่
               ผลจะทําให้ผิวของผลเสียหายไม่น่ารับประทาน

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               โรคสะแคบเกิดจากเชื้อรา  Sphaceloma  fawcettii   (Elsinoe citri)  สปอร์เชื้อราแพร่

               ระบาดไปกับลมและการชะของนํ้าฝน ต้นกล้าส้มที่เกิดจากการเพาะเมล็ดเป็นได้ง่ายกว่ากิ่งตอน
                        การป้องกันและกําจัด :

                               สารป้องกันกําจัดเชื้อราที่ให้ผลโดยการพ่นสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัม

               ต่อนํ้า 20 ลิตร  ซีเนบ 60 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว


               6. โรคมีลาโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการบนใบเกิดจุดเล็ก ๆ สีนํ้าตาลดํา จากนั้นแผลจะแข็งเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ถ้าเอามือลูบใต้

               ใบจะรู้สึกสาก เหมือนสัมผัสกระดาษทราย  เมื่อเป็นรุนแรงใบจะร่วง  อาการที่กิ่งแสดงอาการเช่นเดียวกับที่
               ใบ โดยมีจุดสีนํ้าตาลคลํ้าเกือบดําเกิดขึ้น ถ้าเป็นรุนแรงกิ่งจะแห้งตาย  อาการที่ผลแสดง อาการเช่นเดียวกับที่

               ใบและกิ่ง แผลเมื่อลูบจะรู้สึกว่าสากมือ จุดจะไม่แตกเป็นแผลแต่เกิดต่อเนื่องจากด้านบนผลลงมาด้านล่าง

               เป็นทางสีนํ้าตาลเข้ม ทําให้ผิวของส้มกร้าน ซึ่งพบเป็นกับส้มเขียวหวานเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าตุ่มแผลนูนแข็ง

               เป็นมันมักจะพบเป็นกับส้มตรา และส้มเขียวหวานเช่นเดียวกัน
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               โรคมีลาโนสเกิดจากเชื้อรา  Phomopsis  citri  (Diaporthe citri)  ในการแพร่ระบาดโดย

               อาศัยลมเป็นพาหะ นําสปอร์ไปเป็นกับส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบ กิ่ง และผลที่ยังอ่อนอยู่ กิ่งที่แห้งตายด้วย
               โรคดังกล่าว จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อและลมเป็นพาหะนําสปอร์แพร่ระบาดต่อไปได้เช่นกันพอ ๆ กับนํ้า

                        การป้องกันและกําจัด :

                               กิ่งที่เป็นโรคและแห้งตายจําเป็นตัดออกไปเผาไฟทําลาย ในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความ

               ชุ่มชื้นควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัมต่อ
               นํ้า 20 ลิตร
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48