Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       32


               ท่อนํ้าท่ออาหารเป็นสีนํ้าตาล โดยเฉพาะส่วนที่เป็นท่อนํ้า จะเห็นลักษณะอาการนี้อย่างเด่นชัด ไม่สามารถ

               ลําเลียงส่งขึ้นไปได้ จึงทําให้เหี่ยว และเนื้อเยื่อในบริเวณท่อนํ้ายังถูกทําลายเป็นสีนํ้าตาลโรคนี้ทําให้การผลิ
               ดอกออกผลลดลงอย่างเห็นได้ชัด

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อวิสา  Virus (Morsus  suffokiens) ซึ่งมีเพลี้ยกระโดด blue-green sharpshooter

               (Hordina  circellata)  และ green sharpshooter (Draeculacephala  minerva) กับ red-head (Carneocephala
               fuligida) และ yellow-head sharpshooter (C. flaviceps) เป็นพาหะที่สําคัญ

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่ามีเพลี้ยกระโดดเกิดแพร่ระบาดเข้าไปในสวนองุ่น ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น

               คาร์โบซัลแฟน 50 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร


               9. โรครากแผล

                        ลักษณะอาการ :

                               เนื่องจากไส้เดือนฝอยที่เป็นสาเหตุของโรครากแผล จะเจริญและเคลื่อนที่อยู่ในดินบริเวณ

               แปลงปลูกองุ่น  แล้วทําลายรากฝอยและรากขนอ่อน ทําให้เกิดเป็นแผลเพื่อดูดกินนํ้าเลี้ยงภายในเนื้อเยื่อของ
               รากตรงส่วนนั้นและยังไชชอนเจาะเข้าไปภายในเนื้อเยื่อ ทําให้เกิดเป็นแผลลึก ตัวเมียจะวางไข่ออกมาเป็น

               กลุ่มอยู่บนแผลเหล่านั้น หรือวางอยู่ในดิน ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับรากที่ถูกทําลาย แผลเกิดขึ้นจะแห้งเป็นสีนํ้าตาล

               ซึ่งต่อมาอาจถูกเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น เชื้อบักเตรี หรือ เชื้อราที่เจริญอยู่ในดินเข้าร่วมทําลายให้รากเกิด

               เน่าเปื่อยต่อไป องุ่นที่ถูกไส้เดือนฝอยชนิดนี้ทําลายรากจะทําให้รากเสื่อมหรือหมดสภาพในการดูดนํ้าหรือ
               แร่ธาตุส่งขึ้นไปยังส่วนบนของลําต้นหรือเถาทําให้เกิดลักษณะอาการใบเหี่ยวเฉาในเวลากลางวัน แต่ในเวลา

               กลางคืนก็จะสดใสอีกเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา จึงมีผลให้การเจริญเติบโตของต้นองุ่นต้องชะงักงัน ยอดอ่อน

               เจริญงอกมาช้า และการผลิดอกออกผลน้อยมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตลดลง
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากไส้เดือนฝอย  Pratyienchus  vulnus  นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาดและ

               อาจติดไปกับกิ่งพันธุ์ปักชําที่นําไปปลูก

                        การป้องกันและกําจัด :
                               ก่อนปลูกควรคลุกดินด้วยสารเคมี เช่น ฟูราดาน   รักบี้   โมแคป   หรือไวเดท 15 กรัมต่อ

               หลุม เมื่อปรากฏว่าภายหลังปลูกมีโรคนี้เกิดขึ้นก็ควรใช้สารเคมีดังกล่าวโดยเฉพาะระยะหลังการตัดแต่งกิ่ง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43