Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       30


               5. โรครากปม

                        ลักษณะอาการ :

                               ไส้เดือนฝอยตัวอ่อนจะเข้าทําลายรากฝอย และทําให้ไส้เดือนฝอยที่เข้าไปฝังตัวอยู่ในราก

               และขับถ่ายสารเคมีที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตออกมา และก่อให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์และขยายตัวของ
               เนื้อเยื่อของรากบริเวณนั้น เกิดบวมออกมีลักษณะเหมือนปม เกิดต่อเนื่องกันไปรากที่เป็นปมไม่สามารถดูด

               นํ้าอาหารส่งไปเลี้ยงลําต้นได้ ฉะนั้นอาการบนผิวดินคือใบจะเหลืองซีด ต้นแคระชะงักการเจริญเติบโต

               ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ เมื่อผ่าปมรากดูจะพบตัวไส้เดือนฝอยเพศเมียขนาดเท่าลายเข็มหมุด ลักษณะเป็น
               ถุงหรือหยดนํ้าสะท้อนแสงใส ฝังตัวอยู่และบริเวณปากแผลก็มีกลุ่มของไข่ไส้เดือนฝอยเกิดอยู่ แล้วจะฟัก

               ออกเป็นตัวอ่อนแพร่ระบาดต่อไป จึงเป็นปัญหาที่สําคัญมากต่อการเพิ่มผลผลิต

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม  Meloidogyne    incognita      M.javanica     โรคนี้จะแพร่

               ระบาดได้มากเมื่อมีความชื้นในดินสูง นํ้าเป็นพาหะนําไส้เดือนฝอยไปแพร่ระบาดสู่ต้นอื่นได้อย่างสําคัญยิ่ง

               หรือติดไปกับยอดพันธุ์ที่นําไปปลูก

                        การป้องกันและกําจัด :
                               เมื่อพบว่ามีโรคนี้เริ่มระบาดในสวนองุ่น ก็ควรใช้สารเคมี เช่น คาร์โบฟูราน 20 กรัม ใส่

               คลุกดินที่โคนต้นทุก 2 เดือน หรือใช้ โมแคบ  รักบี้ ไวเดท แทนก็ได้ โดยเฉพาะในช่วงตัดแต่งกิ่ง



               6. โรคเน่าดํา

                        ลักษณะอาการ :
                               ใบจะเกิดเป็นจุดสีเทาขอบสีดําเข้มและรอบขอบสีดําจะมีสีเหลืองล้อมรอบตรงกลางแผล

               จะแห้ง และมีตุ่มนูนสีดํา ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเกิดกระจายอยู่ทั่วไป โรคนี้เมื่อเข้าทําลายผลมักจะเป็นระยะ

               ผลใกล้แก่เต็มที่แล้ว ระยะแรกจะเป็นจุดสีขาวแล้วขยายใหญ่ที่ขอบสีนํ้าตาลเข้ม ทําให้เห็นเหมือนตานก

               บางครั้งอาการโรคจะรุนแรงเน่าทั้งผล ผิวเหี่ยวย่น จะเน่าและแห้งเป็นสีดําและยังอาจติดอยู่กับช่อบนต้นนั้น
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากการที่เชื้อรา  Phyllosticta  ampelopsidis  (Guignardia  bidwellii)  แพร่ระบาด ที่

               สําคัญคือ นํ้าเป็นพาหะในการนําสปอร์ของเชื้อโรคไปสู่สวนหรือต้นอื่นต่อไป หรือปลิวไปตามลมแพร่
               ระบาดไปทั่วบริเวณปลูก

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ก่อนอื่นต้องตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกไป เผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น

               เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ แคปตาโฟล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41