Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
35
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica เป็นเชื้อราที่อยู่ในดิน ระบาดในขณะที่มีความ
ชุ่มชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝนโดยมากเป็นกับส้มที่มีความสมบูรณ์ ดินชื้นอยู่เสมอ เชื้อราสร้างสปอร์ทั้งผนัง
บางและหนา สามารถอยู่ข้ามฤดูได้ซึ่งในขณะที่มีความชุ่มชื้นจะเกิดสปอร์ได้ปริมาณมากอีกด้วยซึ่งสปอร์
เหล่านี้จะแพร่ระบาดออกไปได้โดยติดไปกับนํ้าหรือกิ่งพันธุ์ที่นําไปปลูก
การป้องกันและกําจัด :
อย่าปลูกลึกและบริเวณโคนต้นจะต้องไม่เป็นแอ่ง โดยเฉพาะส้มที่ปลูกแบบสวนยกร่อง
ในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคให้ถากเปลือกส่วนที่เน่าออก แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น เมทแลคซิล 100 กรัม
ต่อนํ้า 1 ลิตร หรือ ฟอเซทธิล อะลูมินั่ม 125 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร
2. โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ :
อาการจะเกิดขึ้นที่ใบอ่อนจนกระทั่งถึงใบที่เจริญเต็มที่แล้ว โดยเกิดจุดสีนํ้าตาลเข้มเป็นได้
ตลอดทั้งกลางใบ ขอบใบ ปลายใบ แผลสีนํ้าตาลแพร่ขยายรวดเร็ว ถ้าเกิดเป็นกับใบอ่อนมาก ๆ จะมีลักษณะ
อาการใบไหม้ ใบอาจร่วง นอกจากนั้นยังทําลายยอดอ่อน ยอดเกิดเน่าแห้งสีนํ้าตาลดํา เมื่อเกิดเป็นกับดอก
จะถูกทําลายเหี่ยวแห้งไป ไม่ติดผล บางครั้งพบว่าเชื้อรานี้เข้าทําลายลําต้นได้อีก ทําให้เกิดยางไหลสีนํ้าตาล
เปลือกเน่าลึกเข้าสู่เนื้อไม้ อาจเน่าลุกลามไปรอบโคนต้น ตันมีอาการโทรมและใบร่วง ต้นแห้งตายไปใน
ที่สุด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica ระบาดเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่มีฝนตกชุก
โดยตลอดฤดูกาล ใบที่พบเป็นโรคจะอยู่ติดกับผิวดิน และยังพบโรคเกิดระบาดสูงถึงในระดับ 1 เมตร จาก
พื้นดินได้ด้วยเชื้อราดังกล่าว มีสปอร์ทั้งผนังหนาและบาง อีกทั้งยังเกิดซูโอสปอร์ซึ่งเคลื่อนที่ได้ การแพร่
ระบาดโดยอาศัยนํ้าเป็นสําคัญ เพราะสปอร์เหล่านั้นจะไปกับนํ้าเข้าทําลายต้นอื่นได้อีกต่อไป
การป้องกันและกําจัด :
ในแหล่งที่มีการแพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมีที่ใช้ป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น แคปตาโฟล
40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เมทาแลคซิล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือฟอเซทธิลอะลูมินั่ม 80 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
3. โรคผลเน่า
ลักษณะอาการ :
เกิดเป็นแผลเน่าบนส้มโดยเฉพาะส้มเขียวหวานพบว่าเป็นโรคนี้มากที่สุด แผลมีสีนํ้าตาล
เข้มทําให้ผลร่วง มักพบขุยขาว ๆ ตามผิวบนรอยแผล ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดจากการเจริญของเส้นใยและสปอร์