Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
40
การป้องกันและกําจัด :
การป้องกันกําจัดทําได้ด้วยการพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอ
ไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และตัดแต่งกิ่งที่ทรุดโทรมมากออกไปเผาไฟทําลายเสียให้หมด
11. โรคราดํา
ลักษณะอาการ :
บนใบกิ่งผล จะถูกปกคลุมด้วยคราบเขม่าสีดําของเชื้อราดํา เมื่อถูกจะหลุดออกได้ง่าย
อาการสีดําเกิดเป็นจุดหรือดวงสีดํา เป็นขุยสกปรก เหมือนถูกทาด้วยผงสีดํา ซึ่งทําให้ส่วนสีเขียวของใบ ไม่
อาจรับแสงอาทิตย์ไปเข้าขบวนการปรุงอาหารได้ตามปกติได้ จึงมีส่วนทําให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต
ของพืชขึ้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Capnodium citricola Miliola citri ขึ้นปกคลุมและเจริญเติบโตบน
นํ้าหวานที่แมลงปากดูดถ่ายออกมาบนส่วนของพืชนั้น อาทิเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมาบนผิวใบ กิ่ง
และผล สปอร์ของเชื้อราปลิวอยู่ในอากาศซึ่งจะเจริญเติบโตบนอาหารที่เป็นนํ้าหวาน สําหรับตัวแมลง
ดังกล่าวก็มีความสําคัญไม่น้อยที่ทําให้ดอกร่วงไปเพราะเกาะดูดกินนํ้าเลี้ยงของพืชตรงส่วนนั้นให้เกิดผล
เสียหายขึ้นโดยตรง
การป้องกันและกําจัด :
ต้องกําจัดแมลงปากดูดพวกเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งให้หมดไปด้วยการพ่นสารป้องกันกําจัด
แมลง โอเมทโธเอท 20 ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร อาจพ่นควบคู่ไปกับสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซี
คลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
12. โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ :
อาการเกิดขึ้นที่กิ่ง โดยเฉพาะตรงโคนแยกของกิ่ง เชื้อราทําลายเปลือกเห็นปรากฏเหมือน
มีสีขาวอมชมพูไปทาเคลือบผิวไว้ เชื้อราแพร่เจริญลุกลามรวดเร็วตามกิ่งและลําต้นทั้งกิ่งเล็ก กิ่งใหญ่ ปรากฏ
เห็นเชื้อราชัดขึ้นเป็นสีชมพู เชื้อราขึ้นลุกลามบนใบและผลที่ติดอยู่บริเวณกิ่งที่เป็นโรคได้ ทําให้ผุ เน่า กิ่งที่
ถูกทําลายใบจะแห้งเหี่ยวและร่วง กิ่งแห้งตายจะมีเชื้อราเกาะอยู่โดยรอบกิ่ง มีสีชมพู กิ่งผุ เปราะหักง่าย ทั้งนี้
เป็นเพราะเนื้อเยื่อส่วนนั้นถูกเชื้อราเข้าทําลาย โดยสร้างเป็นรากเทียมไชชอนเข้าไปทําลายเซลล์ของเนื้อเยื่อ
เกิดเน่าและแห้งตายไป