Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
39
9. โรคแอนแทรคโนส
ลักษณะอาการ :
อาการที่ปรากฏบนใบ เป็นจุดสีนํ้าตาล จุดแผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. รอบ ๆ
จุดแผลมีสีนํ้าตาลเข้ม พื้นใบบริเวณรอบขอบแผลมีสีเหลืองแผ่กระจายรอบ ๆ จุดดังกล่าว พื้นแผลจะมีตุ่ม
เล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุดสีดํา นูนเด่น เรียงต่อเนื่องเป็นวงโดยรอบ ซ้อนกันอยู่เหมือนวงแหวนตุ่มนูนดังกล่าว
เป็นแหล่งกําเนิดของเชื้อราสาเหตุของโรค เมื่ออุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะอาจมีโรคนี้เกิดแพร่ระบาด
เกิดเป็นมากขึ้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Glomerella cingulata) แพร่ระบาดใน
ฤดูฝน โดยมากพบระบาดเป็นกับส้มเขียวหวาน เช่น ในแหล่งปลูกส้มที่ จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพฯ และ
น่าน เชื้อรามีสปอร์อยู่ในตุ่มเล็ก ๆ สีดําเหล่านั้น เมื่อแก่จะดันผิวแตกแพร่ระบาดไปกับลม เชื้อรานี้ยังปลิวไป
ทําลาย ทําให้เกิดโรคกับแหล่งอื่นได้อีก
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่ามีโรคนี้เข้าแพร่ระบาดทําลาย ต้องพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อราที่ให้ผล เช่น
คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และหรือหลังการเก็บ
เกี่ยวทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการส่งออก
10. โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกเกิดจุดสีเทาอมเขียว มีเส้นละเอียดคล้ายกํามะหยี่และจุดดังกล่าวจะมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.5 ซม. ที่ใบ กิ่งและผล ต่อมาจุดดังกล่าวเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือสีสนิมเหล็ก มี
ลักษณะที่ผิวเป็นขุยเหมือนกํามะหยี่ ในระยะที่สปอร์แก่เต็มที่ อาการดังกล่าวจะเกิดในส่วนที่ถูกแสงแดด
โดยเฉพาะอาการที่กิ่งเป็นรุนแรงเปลือกของกิ่งที่ถูกทําลายเปลือกจะแตก กิ่งทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้
เป็นส่วนที่สาหร่ายปกคลุมจะมีรากเทียมเข้าชอนไชไปในเนื้อเยื่อและทําลายเซลล์ของเนื้อเยื่อเกิดแห้งตายไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคเกิดจากการทําลายของสาหร่ายพืชชั้นตํ่า Cephaleuros virescens แพร่ระบาด ในฤดู
ฝน เป็นได้กับพืชหลายชนิด พืชสาหร่ายดังกล่าวแพร่พันธุ์โดยสปอร์และเกาะกินอยู่บนพืชชั้นสูง ในการ
ดํารงชีวิตระยะการเจริญเติบโตมีสีเขียว ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตในระยะที่มีลักษณะเป็นกลุ่ม
กํามะหยี่ สีสนิมเหล็กเป็นระยะการเกิดสปอร์ใช้ในการแพร่ระบาดโดยอาศัยลมเป็นพาหะนําไปสู่ต้นอื่น