Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       34


                                                           4




                                                         ส้ม






                        ส้ม   (Citrus  spp.)  มีหลายชนิดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจมาก ผลส้มส่วนใหญ่จําหน่าย

               ภายในประเทศ โดยใช้รับประทานสดหรือคั้นนํ้า ส้มปลูกได้ดีทุกภาค ที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดได้แก่

               ส้มเขียวหวาน (Citrus recticulata)  แหล่งปลูกของภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สระบุรี นครนายก
               พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ กรุงเทพฯ ราชบุรี และสุโขทัย ทางภาคเหนือ ที่จังหวัดแพร่ น่าน และ

               เชียงใหม่ ทางภาคได้มีมาก เช่นที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และยะลา ทางภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี และตราด

               นอกจากนั้นแล้วยังมีส้มโอ (C.grandis)  ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น ทองดี ขาวพวง ขาวใหญ่ ขาวแตงกวา แหล่ง
               ที่สําคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และปลูกกันทั่วไปที่จังหวัดราชบุรี จันทบุรี ตราด ชัยนาท อุทัยธานี พิจิตร

               เชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้ แต่เนื่องจากส้มโอเป็นส้มที่มีการส่งออก โดยส่งไป

               จําหน่ายในประเทศคูเวต เดนมาร์ก ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ บรูไน โปแลนด์ ฝรั่งเศส มาเลเซีย ศรีลังกา
               เยอรมัน อังกฤษ อเมริกา สิงคโปร์ ฮ่องกง ขณะนี้จึงเริ่มมีผู้ทําสวนส้มโอเพิ่มขึ้นส่วนส้มตราส้มเกลี้ยง

               (C.sinensis) นั้น ปลูกกันไม่กว้างขวางนัก ส้มตรามีปลูกที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กรุงเทพฯ แต่ส้มเกลี้ยง

               ปลูกมากที่ จังหวัดตาก สําหรับมะนาว (C.aurantifolia) ปลูกกันทั่วไปซึ่งมะนาวไข่ มะนาวพวง มะนาวแป้น

               ปลูกมากที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และมีส้มจุกปลูกกันบ้างในจังหวัดระนอง
               นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี ปัญหาในการทําสวนส้มมีมากโดยเฉพาะปัญหาเรื่องโรคเข้าทําลาย

               ฉะนั้นจึงได้รวบรวมปัญหาโรคเพื่อให้ผู้ปลูกและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบและนําไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อไป

               ซึ่งมีโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


               1. โรครากและโคนเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการเริ่มแรก ส้มจะมีอาการใบเหลือง สีใบสลดลงเมื่อขุดที่รากจะพบว่า มีอาการเน่าที่

               ราก ทําให้เปลือกของรากมีสีนํ้าตาลและเน่าเปื่อย ยุ่ย ลุกลามเน่าจนถึงโคนต้นหรือเกิดอาการเน่า เฉพาะ
               บริเวณส่วนโคนระดับคอดินเริ่มเป็นโรคอาการบนใบสังเกตได้ยาก ต่อเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว จึงแสดง

               อาการทางใบ ใบเหลืองบางครั้งอาจใบร่วงและผลร่วงหล่นมาก เมื่อโรคมีความรุนแรงจะทําให้รากและโคน

               ต้นเน่าหมด ไม่สามารถส่งนํ้าและแร่ธาตุอาหารขึ้นไปบนลําต้นอีกต่อไปได้ จึงเกิดอาการดังกล่าว และใบจะ

               ร่วงหมดทั้งต้น ต้นจะยืนแห้งตายไปทั้งต้น จึงเป็นโรคที่มีลักษณะการทําลายที่ร้ายแรง และก่อความเสียหาย
               ต่อสวนส้มมาก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45