Page 44 -
P. 44
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
38
7. โรคกรีสซีมีลาโนส
ลักษณะอาการ :
อาการจะปรากฏที่ใบกิ่ง และผล โดยเฉพาะที่ใบ พบว่าถูกทําลายตั้งแต่ใบอ่อน มีลักษณะ
อาการเกิดเป็นจุดใสเล็ก ๆ มองเห็นด้วยตาเปล่า ได้ทั้งที่ด้านบนใบและใต้ใบ ต่อมาจุดดังกล่าวจะเจริญเป็น
จุดนูนแต่มีขนาดไม่แน่นอน เกิดขึ้นที่ใต้ใบทําให้ดูหลังใบเกิดจุดสีนํ้าตาลไหม้ รอบจุดจะเป็นสีเหลือง จุดนูน
ด้านใต้ใบนี้เมื่อคลําดูจะไม่รู้สึกระคายมือ ทั้งนี้เพราะแผลไม่แตก ส่วนด้านหน้าใบจะเป็นปื้นหรือแถบสี
เหลือง และเมื่อรุนแรงใบจะร่วงก่อนกําหนดมักพบเป็นกับส้มโอ ส้มพองแกน และส้มเขียวหวาน เมื่อใบร่วง
ก็จะทําให้ชะงักการเจริญเติบโต
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคกรีสซีมีลาโนส มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Cercospora citri (Mycosphaerella citri)
โรคดังกล่าวระบาดในฤดูฝน ทําลายให้เกิดความเสียหาย ทําให้ใบร่วง โดยเฉพาะกับส้มเขียวหวานจะชะงัก
ความเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด นํ้าและลมเป็นพาหะที่สําคัญในการแพร่ระบาด
การป้องกันและกําจัด :
สารเคมีที่ใช้ป้องกันกําจัดเชื้อราที่ให้ผลโดยการพ่น เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัม
ต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ แคปตาโฟล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
8. โรคสตาร์มีลาโนส
ลักษณะอาการ :
สตาร์มีลาโนสหรือมีลาโนสรูปดาว เกิดขึ้นใต้ผิวใบส้มหรือที่ผลหรือกิ่งอ่อนเกิดขึ้นเป็น
จุดแล้วแตกกระจายออกเป็นแฉกโดยรอบ ทําให้มีลักษณะคล้ายรูปดาว อย่างเห็นได้ชัดเจน
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โดยทั่วไปพบที่ใบ เกิดจากการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดโรคที่มีสารประกอบทองแดงที่มี
ความเข้มข้นสูงมากเกินไปในระยะที่เป็นโรค ฉะนั้น จากสารเคมีดังกล่าวก็จะเกิดเป็นลักษณะอาการรูปดาว
ขึ้นภายหลังที่ได้พ่นไประยะหนึ่ง
การป้องกันและกําจัด :
สตาร์มีลาโนส ที่ปรากฏอยู่แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงและใช้สารเคมีชนิดอื่นพ่นแทน เช่น แมน
โคเซบ หรือ แคปแทน 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ก็จะช่วยทําให้โรคดังกล่าวไม่เกิดเป็นขึ้นมาอีกต่อไป