Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       41


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  ระบาดในฤดูฝน  ส้มที่มีทรงพุ่มหนาทึบยิ่งพบ
               ระบาดรุนแรง เชื้อรามีสปอร์ปลิวไปตามลมระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูที่มีฝนตกชุกอยู่ โดย

               ตลอดจะเพิ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ตัดส่วนเป็นโรคออกไปเผาไฟโดยเร็ว เพื่อสกัดการแพร่ระบาดโดยเฉพาะในฤดูฝน ใน
               แหล่งมีโรคระบาด ต้องพ่นสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

               หรือ เอดิเฟนฟอส 30 ซีซี. ต่อนํ้า 20 ลิตร


               13. โรคยางไหล

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการเกิดที่ลําต้นเหนือระดับดินขึ้นไป จะมียางไหลออกมาอย่างเห็นได้ชัด นํ้ายางเหนียว

               สีนํ้าตาลอ่อน ลักษณะใสไหลเป็นทางและแห้งเกาะอยู่บริเวณที่เชื้อเข้าทําลายดังกล่าว อาการลุกลามมากขึ้น

               เมื่อเฉือนตรวจดูภายในจะเห็นเปลือกเน่ามีสีนํ้าตาล เนื้อเยื่อภายในสีนํ้าตาลอ่อน ทําให้ต้นส้มชะงักงันทรุด

               โทรมและตายในที่สุด  ส้มโอเป็นโรคนี้มากที่สุดสวนส้มที่ขาดการดูแลเอาใจใส่หรือส่วนเก่า มักจะพบว่ามี
               โรคนี้เกิดขึ้นเสมอ และจะแพร่ระบาดเป็นต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างในสวนนั้น

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  หรือ  Diplodia  natalensis  พบเป็น
               รุนแรงในส้มโอแทบทุกพันธุ์ เชื้อราดังกล่าวมีสปอร์ใช้ในการแพร่ระบาดซึ่งนํ้าเป็นพาหะนําเชื้อโรคไปสู่ต้น

               อื่นหรือติดไปกับกิ่งพันธุ์ ต้นกล้าที่นําไปปลูก เช่น กิ่งตอน กิ่งติดตา กิ่งทาบ เป็นต้น

                        การป้องกันและกําจัด :
                               ควรพ่นด้วยยาป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า  20 ลิตร หรือ คอปเปอร์

               ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร อยู่โดยสมํ่าเสมอ และพ่นทั่วต้นเป็นสิ่งจําเป็น และหากปรากฏอาการ

               เน่าดังกล่าวเกิดขึ้น ให้ถากเปลือกส่วนที่เน่าออก แล้วทาด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 100 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร

               หรือ เบโนมีล 6-10 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร หรือบูแซน 20 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร ทาให้ทั่วสัก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 15
               วัน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52