Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
42
14. โรคกรีนนิ่ง
ลักษณะอาการ :
โรคนี้เป็นโรคที่ร้ายแรงมาก โดยทั่วไปต้นส้มแสดงอาการทรุดโทรม ใบเหลืองมีขนาด
เล็กและชี้ตั้งตรง คล้ายอาการขาดธาตุอาหาร เช่น สังกะสี แมงกานีส แมกนีเซียมและแร่ธาตุจําเป็นอื่น ๆ
ของพืชที่ช่วยสังเคราะห์แสง อาการจะปรากฏเป็นกิ่งใดกิ่งหนึ่งหรือทั้งต้นจะทรุดโทรมกิ่งแห้งและค่อย ๆ
ตาย อย่างเชื่องช้า ระยะนี้ผลผลิตน้อย ผลเล็ก คุณภาพลดลง อาจไม่สามารถให้การผลิดอกออกผลได้
เนื่องจากอาการทรุดโทรม โรคนี้พบเป็นมากกับ ส้มตรา ส้มเขียวหวาน ส้มโอ
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
ปัจจุบันยังไม่ทราบชื่อสาเหตุอันแท้จริง จึงจําเป็นต้องใช้ Fastidious Bacteria (FB) ไป
พลางก่อน ซึ่งเป็นเชื้อทําลายสีเขียวของพืช มีลักษณะคล้ายบักเตรีแต่มีขนาดเล็กมาก มีรูปร่างไม่แน่นอนอยู่
ภายในท่อนํ้าท่ออาหาร การแพร่ระบาดของโรคโดยวิธีการขยายพันธุ์จากพันธุ์ที่เป็นโรคและยังมีแมลงพาหะ
นําโรคคือเพลี้ยกระโดด (Diaphorin citri) นําเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่น
การป้องกันและกําจัด :
ควรมีการคัดเลือกพันธุ์ปลูกโดยใช้พันธุ์ที่ไม่แสดงอาการเป็นโรค หรืออาจจากแหล่งที่ไม่
มีโรคนี้แพร่ระบาด ในแหล่งที่โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดก็จําเป็นอย่างยิ่งต้องพ่นสารป้องกันและกําจัดแมลงที่
เป็นพาหะนําโรคดังกล่าว เช่น โอเมทโธเอท 30 ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่นในระยะที่พืชกําลัง
แตกใบอ่อน และทําลายต้นที่เป็นโรคให้หมดไปด้วยการขุดออกไปเผาไฟทําลายเสีย
15. โรคทริสเตซ่า
ลักษณะอาการ :
ส้มสีเขียวหวานที่เป็นโรคนี้มีทั้งชนิดเป็นรุนแรงมากและชนิดไม่รุนแรง ยังพอให้ผลผลิต
ได้บ้าง อาการรุนแรงของต้นทรุดโทรม ใบเหลืองคล้ายขาดธาตุอาหาร ตามลําต้นจะเกิดอาการเนื้อไม้เป็น
แอ่ง บุ๋ม ส่วนอาการของส้มจะทรุดโทรมใบเหลืองคล้ายขาดธาตุอาหารเช่นเดียวกัน เป็นรุนแรงมาก ๆ
บริเวณโคนต้นเมื่อถากเปลือกออกจะพบเนื้อไม้เป็นหนาม อาการดังกล่าวอาจเกิดอาการยางไหลสีนํ้าตาลปน
เหลือง และเชื้ออื่นเข้าทําลายเน่า ทรุดโทรมเพิ่มมากขึ้น สําหรับมะนาว นั้นอ่อนแอต่อโรคนี้ทั้งมะนาวไทย
และมะนาวตาฮิติ ส่วนมะนาวตาฮิติ แสดงออกที่ใบ ใบหงิก เส้นใบอ่อนมีขีดใส โปร่งแสง ใบมีลักษณะขอบ
ใบงอโค้งขึ้นโดยรอบ ต้นแคระแกร็น เมื่อเปิดเปลือกบริเวณโคนต้นหรือกิ่งจะพบเนื้อไม้เป็นหนาม สําหรับ
อาการที่เกิดขึ้นกับมะนาวไทยนั้น ต้นมะนาวยังให้ผลผลิตได้พอสมควร ใบอ่อนมีขีดโปร่งแสง ใสเมื่อใบแก่
ขีดจะหายไป เมื่อใบแก่ขึ้นเส้นใบจะแตกและนูนโปน เนื้อไม้บริเวณใต้เปลือกโคนต้นอาจเกิดอาการเนื้อไม้
เป็นแอ่งบุ๋มลงไปเป็นแห่ง ๆ