Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
36
ของเชื้อราเจริญอยู่บนแผลนั้น โดยทั่วไปภายในผลนั้นเนื้อเยื่อจะเน่าและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ในขณะเดียวกัน
โรคอาจเกิดเป็นกับใบ ทําให้ก้านใบเน่า ใบร่วงหล่นก่อนกําหนดผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวยังเป็นโรคนี้ได้อีก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica ผลส้มเขียวหวานใกล้สุกจะถูกทําลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน ผลที่ติดตรงบริเวณใกล้พื้นดินระบาดได้อย่างรุนแรงมาก ผลที่ร่วงเชื้อราจะ
สร้างสปอร์แพร่ระบาดไปกับนํ้าหรือติดไปกับแมลงได้อีก
การป้องกันและกําจัด :
ควรเก็บผลที่เน่าด้วยโรคดังกล่าวไปเผาทําลาย นอกจากนี้การใช้สารเคมีในการพ่นทําได้
เช่นเดียวกับที่เกิดที่ใบ ตามที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องโรคใบไหม้ โดยเฉพาะก่อนเก็บผล 1-2 เดือน จะเหมาะสม
ที่สุด
4. โรคแคงเคอร์
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปอาการของโรคจะปรากฏที่ใบ กิ่งและผล โดยระยะแรกที่ใบจะเห็นเป็นจุดใส
ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด จุดสีเหลืองอ่อนต่อมาแผลจะขยายใหญ่โตขึ้น เห็นได้ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ แผล
รูปร่างกลมรอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง ภายในแผลสีนํ้าตาลเป็นตุ่มนูนเด่นชัด ลักษณะขรุขระเล็กน้อย เมื่อ
ใบส้มแก่ขึ้นตรงกลางแผลจะยุบลงเป็นแผลตกสะเก็ด ขอบแผลมีสีเหลืองโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
0.2-1 ซม. อาการที่ผลมีลักษณะอาการเช่นเดียวกับที่เป็นที่ใบ เมื่อเป็นรุนแรงใบอาจจะร่วง ผลอ่อนถูกทําลาย
ตรงจุดแผลจะทําให้แผลแตก ถ้าเจริญเติบโตได้ต่อไปจะทําให้ผลมีลักษณะเป็นแผลตกสะเก็ด สําหรับ
อาการบนกิ่งเช่นเดียวกับที่เกิดบนใบและผล ถ้าเป็นรุนแรงทําให้กิ่งแห้งตาย ต้นชะงักการเจริญเติบโต โรคนี้
จะพบเป็นมากกับมะนาวและทําให้ราคาลดลง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เนื่องจากโรคแคงเคอร์ของส้ม เกิดจากเชื้อบักเตรี Xanthomonas campestris pv.citri
ระบาดในฤดูฝนได้รุนแรง และหากมีหนอนชอนใบส้มควบคู่กัน การแพร่กระจายของโรคจะกว้างขวางขึ้น
ในช่วงที่ส้มออกใบอ่อนและผลในขณะที่มีฝนตกชุกการระบาดของโรคจะรุนแรงมากเพราะนํ้าฝนเป็นพาหะ
ที่สําคัญ
การป้องกันและกําจัด :
การตัดแต่งกิ่งส้มที่เป็นโรคแคงเคอร์รุนแรงออก เป็นสิ่งจําเป็นมากในช่วงการผลิใบ แตก
กิ่งและติดผล ในฤดูฝนควรหมั่นพ่นสารเคมีป้องกันอยู่โดยตลอดเช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 50 กรัมต่อ
นํ้า 20 ลิตร และยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราซัยคลิน เพราะจะช่วยทําให้ผิวของผลส้มสะอาด หากเกิดแผลแล้วก็
จะหยุดขยายต่อไป หรือสเตรปโตมัยซิน 5 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร การพ่นสารเคมีในระยะส้มติดผลอ่อนย่อม
จําเป็นอย่างยิ่ง