Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
31
7. โรคยอดไหม้
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกลักษณะอาการจะเกิดขึ้นที่ยอดอ่อนเป็นสีเขียวปนสีเหลือง แต่สีจะจางต่อมา
จะเกิดเป็นจุดสีคลํ้า แล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาปนดํา จุดดังกล่าวจะฉํ่านํ้า จุดจะขยายเป็นทางยาวไปตามความยาว
ของยอดอ่อน ในขณะเดียวกันแผลจะขยายเป็นขีดใหญ่ เกิดโดยรอบข้อ โรคนี้จะเป็นกับส่วนอื่นด้วยเช่นก้าน
ใบ ก้านช่อดอก และเถาอ่อน ผิวของเถาจะแตกต่อเนื่องจากส่วนที่เป็นแผลของโรคเป็นทางยาว ยอดอ่อนที่
เป็นโรคจะขยายมีขนาดใหญ่ โป่งออก ยอดอ่อนดังกล่าวจะเจริญเติบโตช้า ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนสี
แดง หรือสีนํ้าตาล ในบางครั้งจะพบว่าใบของพันธุ์ที่ให้ผลสีเขียวนวล หรือสีขาวนวลปนสีเขียว ใบที่เป็น
โรคจะเป็นสีเหลือง ส่วนใบของพันธุ์ที่ให้ผลสีม่วง ใบที่เป็นโรคจะเป็นสีแดง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อองุ่นเป็น
โรคนี้รุนแรงจะทําให้ยอดอ่อนเกิดลักษณะอาการไหม้แล้วแห้งตายลงมา การเข้าทําลายของเชื้อบักเตรีสาเหตุ
ของโรคนั้น จะผ่านเข้าทางใบที่เป็นแผลหรือช่องเปิดตามธรรมชาติทําให้ใบมีสีแดงตามขอบริมใบและแห้ง
ไป เชื้อบักเตรีจะผ่านไปตามท่อนํ้า ท่ออาหาร จึงทําให้โรคขยายการทําลายไปทั่วทั้งพุ่มได้โดยง่าย
นอกจากนี้เชื้อบักเตรียังเข้าทําลายช่อดอก ทําให้ดอกไหม้และเมื่อเป็นกับผลจะเกิดผลแตก ทุกส่วนที่เป็นโรค
จะมีของเหลวไหลออกมา ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อบักเตรีดังกล่าว
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อบักเตรี Erwinia vitivora ซึ่งจะถูกนํ้าฝนชะพัดพาไปแพร่ระบาดหรือติดไป
กับกรรไกรที่ใช้สําหรับตัดแต่ง นอกจากนี้ ยังติดไปกับแมลงได้อีกด้วย
การป้องกันและกําจัด :
ในการตัดแต่งต้องระมัดระวังมาก ควรทําความสะอาดกรรไกรภายหลังที่ตัดแต่งจากต้น
หนึ่งก่อนที่ย้ายไปตัดแต่งต้นอื่นด้วยแอลกอฮอล์ หลังจากตัดแต่งพุ่มแล้วก็ต้องพ่นด้วยสารเคมี เช่น
คิวปรัสออกไซด์ หรือ คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว หรือจะใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น
อะกริมัยซิน -100 ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ แทนก็ได้
8. โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ :
ใบจะเริ่มแห้งหรือไหม้เป็นบางส่วน ในขณะที่ผืนใบส่วนใหญ่ยังมีสีเขียวตามปกติอยู่ โดย
ลักษณะอาการเริ่มแรกจะเกิดขึ้นที่ขอบริมใบ ก้านใบ ทําให้เกิดลักษณะการเป็นสีนํ้าตาลการเจริญเติบโตจะ
หยุดชะงัก ในเวลาอากาศร้อนจะมีลักษณะอาการเหี่ยว ใบอาจแตก เมื่อเกิดในระยะติดผลจะทําให้ผลแก่ก่อน
กําหนด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ หรือ ทั้งหมดต้น การแตกยอดและใบเป็นไปอย่างเชื่องช้ามากมักจะ
เกิดเป็นจุดด่างสีเขียวซีดจางบนฝืนใบระหว่างเส้นใบ ใบอาจบิดเบี้ยว ตรงบริเวณส่วนยอด และยอดแคระ
แกร็นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อขุดตรวจดูที่รากจะพบว่าปลายรากจะตายไป เนื้อเยื่อภายในเถาหรือลําต้นจะพบว่า