Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       27


                                                           3




                                                        องุ่น






                        องุ่น (Vitis  vinifera)  เป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยขึ้นค้าง มีผลออกเป็นช่อส่วนมากใช้รับประทานสด

               และพันธ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบันอยู่สองพันธุ์คือ พันธุ์คาดินัล และพันธุ์ไวท์มะละกา  นอกจากนี้ พันธุ์องุ่นได้

               พัฒนาขึ้นมากพันธุ์ สําหรับองุ่นทําเหล้าหรือไวน์เริ่มนํามาปลูกหลายพันธุ์ขึ้นได้ดีในประเทศไทย ในการทํา
               สวนองุ่นของเกษตรกรที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสงคราม และราชบุรี หรือแถบสวนฝั่งธนบุรีในกรุงเทพฯ

               ปัจจุบันทําสวนองุ่นกันเพิ่มมากขึ้นและได้ผลดีมาก ลักษณะการทําสวนองุ่นโดยทั่วไปจะปลูกแบบยกร่อง

               เหมือนกับการปลูกผัก วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยระบายนํ้า ไม่ให้มีนํ้าขังโดยรอบเพราะในบ้านเรา ที่ทํา
               การปลูกองุ่น มักจะเป็นที่ราบเสียเป็นส่วนใหญ่และที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม บางแหล่ง

               ก็ต้องปรับปรุง บํารุงดินให้มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ดอน หรือที่บริเวณแห้งแล้ง ถ้าดินไม่อุดมสมบูรณ์

               มากพอ ก็จะมีผลต่อการเจริญและผลิดอกออกผล  หรือให้ผลผลิตตํ่า ฉะนั้นการหาทําเลปลูกองุ่นจึงต้อง
               พิถีพิถันค่อนข้างมาก และปรับปรุงบํารุงดินให้อุดมสมบูรณ์พร้อมทั้งให้ความชื้นอย่างเหมาะสม  ปัจจุบันมี

               การเกษตรกรนิยมปลูกองุ่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งชนิดมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด ที่ใช้บริโภคสด ซึ่ง

               นอกเหนือจากปลูกเพื่อเอาผลผลิตป้อนโรงงานแปรรูป อย่างไรก็ตามองุ่นในตลาดก็มีองุ่นจากต่างประเทศ

               ส่งเข้ามาจําหน่ายกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็นับว่าโชคดีของเกษตรการไทยอยู่บ้างที่ในปัจจุบันได้มี
               โรงงานผลิตไวน์ขึ้นในประเทศไทยที่ใช้ผลองุ่นเป็นวัตถุดิบ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสดีของเกษตรกรที่มีตลาด

               รองรับเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาในการหาตลาดจําหน่ายผลผลิตอีกต่อไป อุปสรรคในการปลูกองุ่นมีโรคต่าง ๆ

               ดังนี้


               1. โรครานํ้าค้าง

                        ลักษณะอาการ :

                               ลักษณะอาการบนใบอ่อนเริ่มเป็นจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง ถ้าส่องกับแสงจะเห็นชัดเมื่อ

               เป็นมากขึ้นจุดที่ถูกทําลายจะพบขุยสีขาวของเชื้อราเจริญขึ้นอยู่ด้านใต้ใบเมื่อใบแก่ขึ้นขุยขาว ๆ หลุดไป เกิด
               เป็นแผลแห้งสีนํ้าตาล โดยมากเป็นกับใบอ่อนแล้วใบอ่อนจะร่วงไป ขนาดของแผลที่เป็นโรคไม่แน่นอน

               อาการบนช่อดอกมีขุยของเชื้อราอยู่บนแผลของช่อ ทําให้ดอกร่วงช่อดอกแห้ง ถ้าเป็นกับผลที่มีขนาดใหญ่

               การทําลายก็จะทําให้ผิวกร้านหรือกระ ทําให้ผู้บริโภคผลสดไม่ต้องการจึงนับได้เป็นผลเสียหายต่อผลผลิต

               มาก และเป็นโรคที่มีการทําลายที่ร้ายแรงขยายการทําลายอย่างรวดเร็วจึงจําเป็นต้องดูแลอย่างสมํ่าเสมอ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38