Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
24
จะถูกทําลายเช่นกัน ใบมะม่วงจะร่วงไปยอดพันธุ์ที่ทาบมานั้นก็เหี่ยวและแห้งตายกิ่งที่ทาบไว้หากขาดการ
เอาใจใส่ย่อมได้รับความเสียหายอยู่เสมอ
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคนี้เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Cercospora mangiferae ซึ่งจะเกิดสปอร์อยู่มาก
บนแผลนั้น ลมเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาด
การป้องกันและกําจัด :
เก็บใบที่ร่วงหล่นออกไปเผาไฟ แล้วพ่นกิ่งพันธุ์ให้ทั่วด้วยสารเคมี เช่น แมนโคเซบ 48
กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ ไธโอฟาเนท เมทธิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
26. โรคใบจุดนูน
ลักษณะอาการ :
เชื้อราจะเข้าทําลายใบ โดยเฉพาะผิวใบด้านล่างจะเกิดมีลักษณะอาการของโรคนี้โดยเกิด
เป็นจุดนูนเด่นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งลักษณะของตุ่มนูนเหล่านี้จะแข็งเมื่อใช้มือลูบดูจะพบว่าสากมือหรือหยาบ มี
สีดํา แต่เมื่อตรวจดูผิวด้านบนของใบตรงบริเวณแผลซึ่งอยู่ตรงข้ามกันจะพบว่าจุดหรือตุ่มนูน ดังกล่าวนั้นมีสี
จางและตรงกลางจุดนั้นมีเนื้อเยื่อแห้งตาย เมื่อโรคมีอาการที่รุนแรงก็จะมีจุดนูนเกิด กระจายไปทั่วผืนใบ
เกิดมีจุดนูนแห้งสีจางจํานวนมาก บางครั้งผืนใบอาจเกิดแห้งตายไปเป็นแห่ง ๆ ซึ่งถ้ามะม่วงต้นใดเป็นโรคนี้
มากก็จะทําให้การเจริญเติบโตลดลง การผลิดอกออกผลนี้น้อย อันเป็นผลให้ผลผลิตลดลง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคใบจุดนูนเกิดจากเชื้อรา Zimmermaniella trispora สปอร์จะปลิวแพร่ระบาดไปกับ
ลมเมื่อตุ่มนูนจุดนั้นแก่เต็มที่แล้วแตกออก
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่ามีโรคนี้ระบาดควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือคาร์
เบนตาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร