Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20
อาจเข้าทําลายก้านใบทําให้ก้านใบเกิดมีลักษณะอาการเน่าเป็นสีดํา ทําให้ใบร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน สําหรับใบ
ที่ถูกทําลายเพียงพื้นใบ แผลจะขยายมาเชื่อมกันเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ขึ้นพื้นจะแห้งมีสีนํ้าตาลดํา ขอบแผล
สีดํา เมื่อโรคเกิดแพร่ระบาดมากก็จะปรากฏว่าใบมีลักษณะอาการดังกล่าวอยู่ทั่วไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคใบจุดสีดําเกิดจากเชื้อรา Macrophoma mangiferae เมื่อแก่สปอร์เกิดแตกหรือหลุด
ออกมาจากถุงซึ่งฝังตัวอยู่ในเยื่อแผลของใบแพร่ระบาดออกไปเข้าทําลายแหล่งอื่นได้อีกซึ่งนํ้าและลมเป็น
พาหะที่สําคัญ
การป้องกันและกําจัด :
หากพบว่า โรคใบจุดสีดําเกิดแพร่ระบาดมากก็ควรพ่นทั้งพุ่มด้วยสารเคมีให้ทั่ว เช่น แมน
โคเซบ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ส่วนใบที่ร่วงหล่นนําออกไปเผาไฟ
ทําลาย
19. โรคใบจุดสีขาว
ลักษณะอาการ :
โรคนี้มักพบว่าเกิดเป็นมากกับใบที่ยังอ่อนหรือแผ่ขยายเต็มที่เริ่มเป็นสีเขียว ซึ่งใบใน
ระยะนี้ยังมีผิวใบที่ยังไม่แข็งแรง ดังนั้นเมื่อสปอร์ของเชื้อราสาเหตุปลิวมาตกบนผิวแล้วก็สามารถงอกไช
ชอนเข้าไปสู่เนื้อเยื่อภายในได้อย่างสะดวก ลักษณะอาการของโรคจะเกิดเป็นจุดกลมขนาดเล็กเท่าหัวเข็ม
หมุด จุดจะขยายใหญ่ขึ้นและตรงกลางแผลแห้งเป็นสีขาว เมื่อเป็นโรคมากจะเห็นว่าเกิดเป็นจุดเล็กเห็นเป็น
สีขาวอยู่ตรงกลางเกิดกระจายบนใบอยู่ทั่วไป แต่ถ้าโรคเกิดต่อเนื่องไปจนใบแก่จะปรากฏว่ารอบ ๆ แผล
ดังกล่าวเป็นวงสีเหลืองหรือสีเขียวปนเหลือง ทําให้จุดของแผลเห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น บางครั้งจะพบว่ามีบางจุด
เจริญออกมามีขอบเชื่อมติดต่อกัน ทําให้แลเห็นจุดเกิดเป็นกลุ่ม ๆ บ้างอยู่ทั่วไป ถ้าเกิดหนาแน่นมากจะทําให้
ใบแห้งตายเป็นแห่ง ๆ เป็นแผลขนาดใหญ่ บนพื้นแผลจะมีตุ่มนูนสีดําบนผิวเท่าปลายเข็มหมุดฝังอยู่
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคใบจุดสีขาว เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Pestalotia mangiferae โดยที่เชื้อราจะ
เกิดเป็นตุ่มนูนบนสีดําบนผิวที่แผลของผิวใบ เมื่อแก่ ตุ่มนูนนั้นจะแตกอ้าออก ทําให้สปอร์ปลิวแพร่ระบาด
ออกไปหรือถูกนํ้าชะพัดพาไป
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อนควรพ่นด้วยสารเคมีให้ทั่ว เช่น แมนโคเซบ 48 กรัมต่อนํ้า
20 ลิตร หรือเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร