Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16
ยางสีนํ้าตาลไหลออกมาอยู่ทั่วไป โรคนี้เมื่อเป็นอยู่ในขั้นรุนแรงก็จะทําให้ใบมะม่วงเหี่ยวเฉา ชะงักการ
เจริญเติบโตไม่ผลิตดอกออกผล ในที่สุดจะยืนต้นแห้งตายไปซึ่งลักษณะการทําลายจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
มาก ในระยะเวลาเพียงประมาณ 4 เดือน ก็สามารถทําให้ต้นมะม่วงตายไปแล้ว
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Diplodia recifensis เกิดตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุดสีดํา อยู่บนแผล
ภายในสปอร์ ซึ่งนํ้าเป็นพาหะที่สําคัญหรือติดไปแมลง
การป้องกันและกําจัด :
ถากเปลือกออกแล้วพ่นสารเคมี เช่น พีซีเอ็นบี 30 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว หากเป็นโรค
มากต้องโค่นเผ่าไฟทําลายให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกต่อไป
11. โรคบันชีทอป
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปโรคส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกับมะม่วงในระยะต้นกล้า หรือนําไปปลูกได้อายุไม่
เกิน 1 ปี ใบจะสั้น มีขนาดเล็ก แข็ง ใบหนา ข้อที่ส่วนยอดจะสั้นกว่าปกติ สีซีด ใบเกิดออกมากจะทําให้
เหมือนกับว่าเกิดกลุ่ม ๆ หรือกระจุก ต้นเตี้ย แคระแกร็น ส่วนมากเมื่อเป็นโรคนี้แล้วมักจะตายไปในที่สุด ถ้า
ไม่ตายก็จะไม่ค่อยเจริญเติบโต เมื่อถึงระยะออกดอกก็จะมีช่อดอกรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่คลี่ออกเหมือนปกติ
การเกิดเป็นโรคมักจะเกิดเป็นจุดที่ต้นมะม่วงอยู่ใกล้ ๆ ในกลุ่มเดียวกัน เพราะต้องอาศัย เพลี้ยอ่อนในการ
แพร่ระบาดของเชื้อโรค
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
การเกิดจากเชื้อวิสา Virus โดยเพลี้ยตัวอ่อน Aphis medicaginis A. rumicis เป็นพาหะ
นําโรค
การป้องกันและกําจัด :
ควรขุดออกไปเผาไฟทําลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกต่อไป
12. โรคผลจุด
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกเชื้อราเข้าทําลายที่ผล ที่สุก หรือแก่เต็มที่แล้ว โดยเข้าทําลายบริเวณขั้ว เกิด
เป็นสีม่วงเข้ม และแผลจะขยายเข้าสู่เนื้อในของผล เกิดเน่า ฉํ่านํ้า ผิวเปลือกจะมีสีม่วงเข้มดังกล่าวใน
ระยะเวลาเพียง 3-4 วันผลมะม่วงก็จะเน่าหมดทั้งผล โรคนี้จะเกิดขึ้นในระยะผลแก่เต็มที่แล้วขณะที่อยู่บน
ต้นก่อนการเก็บเกี่ยว และเกิดเป็นโรคนี้ได้อีกหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ฉะนั้นจะเป็นโรคที่ก่อความเสียหาย
มากต่อผลมะม่วงที่ส่งจําหน่ายสู่ตลาด