Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       11


                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปลูกเก่าที่ใช้เพาะมานาน ถ้าจําเป็นก็ต้องรดเครื่องปลูกด้วย
               สารเคมี  เช่น  บราสสิโคล  หรือไวตาแวกซ์   เทอร์ราโซล  อัตรา  20  กรัมต่อนํ้า  20  ลิตร  หากพบในแปลง

               เพาะเกิดโรคให้รีบถอนทําลาย แล้วราดด้วยสารเคมีดังกล่าวให้ทั่ว



               2. โรคใบไหม้

                        ลักษณะอาการ :
                               อาการปรากฏที่ใบของต้นมะม่วงในระยะต้นกล้า โดยใบไหม้สีนํ้าตาลลุกลามไปทั่ว

               เนื่องจากการทําลายของเชื้อราสาเหตุในแปลงเพาะมะม่วงที่เพาะจํานวนมาก ประกอบกับกล้าที่ขึ้นมา

               เบียดเสียดและแออัดมาก  ใบที่ประสานกันเป็นโรคก็จะติดต่อกันทําให้ใบไหม้แห้งสีนํ้าตาลเป็นบริเวณกว้าง

               นอกจากนี้จะพบเส้นใยของเชื้อราสีนํ้าตาลอ่อนบนใบที่ถูกทําลายซึ่งร่วงหล่นบนพื้นดิน ใบประสานกันด้วย
               เส้นใยทําให้ใบติดกันอย่างเห็นได้ชัด   แต่บางครั้งใบที่ยังสดอยู่บนต้นเมื่อเป็นโรคอาจติดกันได้ แต่ไม่

               ปรากฏเส้นใยของเชื้อราให้เห็น

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Rhizoctonia    solani  เชื้อราจะหมักหมมอยู่ในดินและเครื่องปลูกแพร่
               ระบาดได้ง่ายไปกับสิ่งปลูกเหล่านั้น  และต้นกล้าที่จะนําไปใช้เป็นต้นตอ  ชิ้นส่วนของเส้นใยอาจปลิวไปกับ

               ลมและตกบนใบ เมื่อได้รับความชื้นก็จะงอกเข้าทําลายใบอีกต่อไป

                        การป้องกันและกําจัด :
                               เครื่องปลูกไม่ควรเป็นเครื่องปลูกที่ใช้มานาน  หากมีโรคแพร่ระบาดก็ถอนออกทําลาย

               และควรพ่นสารเคมีให้ทั่วบนใบ  เช่น  คอปเปอร์ออกซีคลอไรค์  50  กรัมต่อนํ้า  20  ลิตร  หรือ  เบนเลท  6

               กรัมต่อนํ้า  20  ลิตร  แต่ต้นที่เป็นโรคควรทําลาย อย่านําไปใช้เป็นต้นตอ


               3. โรคแอนแทรคโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               ใบอ่อนเป็นจุดสีนํ้าตาลขนาด  0.2-0.3  ซม.  จุดแผลที่เป็นในระยะนี้ พื้นแผลตรงกลางจะ

               ขาดทะลุ  อาจปรากฏว่ามีการทําลายหลาย  ๆ  จุดบนใบทําให้ใบเป็นรูทะลุและใบหงิกงอและแห้ง  ยอดอ่อน
               ก็ถูกทําลายได้เช่นเดียวกันโดยเกิดเป็นจุดแผลสีนํ้าตาล   สําหรับใบที่เจริญเต็มทีแล้วจะเกิดจุดแผลเป็นจุดสี

               นํ้าตาล   จุดแผลค่อนข้างกลม   มีทั้งจุดแผลเล็กและใหญ่   ขนาดแผลใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ

               0.2-0.5 ซม.   บนใบหนึ่ง  ๆ  มีการทําลายเป็นจุด ๆ  ได้ทั่วไปตลอดพื้นใบ   ทําให้ใบเป็นรูพรุน ผืนใบที่เหลือ

               จะเหลืองและร่วงเร็วกว่าปกติ  นอกจากนี้ยังปรากฏที่ช่อดอกและผลอ่อน  ก็เกิดจุดสีนํ้าตาลบนส่วนเหล่านั้น
               เมื่อเป็นรุนแรงทําให้ช่อดอกแห้งผลอ่อนร่วง ส่วนอาการที่เกิดบนผลที่แก่เต็มที่ใกล้สุก  จะเกิดจุดแผลสี
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22