Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         7


               เหลืองขยายเพิ่มขึ้น  ในขณะเดียวกันใบอ่อนที่ยังไม่คลี่จะมีอาการเน่าเละส่งกลิ่นเหม็น ถ้าเป็นมากต้นอาจ

               ตายได้
                         สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:

                                เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Phytophthora palomivora   ถ้าปลูกต้นมะพร้าวชิดกัน

               มากจะเพิ่มการแพร่ระบาดได้มากยิ่งขึ้น ในระยะมะพร้าวอายุ 15-45  ปี จะมีโรคนี้ทําลายมาก เชื้อโรคจะพัก

               ตัว อยู่ 3-9  เดือน ยิ่งสภาพอากาศไม่แห้งแล้งจะมีราได้ระบาดมากยิ่งขึ้น
                         การป้องกันและกําจัด:

                                เมื่อพบว่าโรคนี้แพร่ระบาดมากก็จําเป็นต้องทําลายมะพร้าวต้นนั้นเสีย และส่วนที่เป็นโรค

               นั้นๆ ก็นําไปเผาทําลายเสีย  แล้วพ่นด้วยสารเคมีฆ่าเชื้อ เช่น Ridomyl20  กรัมต่อนํ้า 20  ลิตรหรือ Metalaxyl

               20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว


               5. ใบแห้งกรอบ

                         ลักษณะอาการ:

                                ใบที่เป็นโรคจะแห้งกรอบและแตกตรงบริเวณกลางใบฉีกขาดออกจากใบรวม แล้วใบนั้น

               ก็ขาดห้อยลงแนบกับลําต้น ตรงบริเวณปลายใบ รวมจะเกิดเป็นสีนํ้าตาล แล้วอาการจะขยายเข้าสู่ก้านใบเป็น
               สีนํ้าตาลไหม้และกลางใบไหม้สีคลํ้า ซึ่งโดยทั่วไปในลักษณะอาการเช่นนี้จะรุนแรง พืชไม่เจริญและเริ่ม

               โทรมลงมาก

                         สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:
                                สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia cinnarea  เข้าสู่เนื้อเยื่อ ถ้ามีความชื้นที่เหมาะสม

               โดยเฉพาะความชื้นก็จะช่วยให้โรคเป็นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ร้ายแรงมากนัก เพราะเชื้อเป็น

               weak parasite โรคนี้มักจะเกิดเป็นกับมะพร้าวที่ไม่แข็งแรงเท่านั้น
                         การป้องกันและกําจัด:

                                ปรับปรุงการให้นํ้าและให้ความชื้นอย่างเหมาะสม แล้วใช้ปุ๋ ยคอกให้มากจะช่วยได้ดี และ

               เพิ่มปุ๋ ยวิทยาศาสตร์เข้าช่วยจะเพิ่มความแข็งแรง และใช้ยาป้องกันกําจัดคือ Ridomyl  20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               6. โรคเส้นด้าย

                         ลักษณะอาการ:

                                บนใบล่างๆจะพบว่าเยื่อเป็นเส้น หรือ แผ่นสีขาว ลักษณะหยาบๆ เคลือบอยู่บริเวณผิวของ

               เนื้อเยื่อภายนอก เกิดห่อหุ้มอยู่อย่างเห็นได้ชัด บางส่วนอาจเห็นเป็นเส้นใยของเชื้อรากอดกันอยู่เป็นมัดเกาะ

               อยู่โดยรอบของกาบใบ หรือโคนก้านใบ เหมือนถูกมัดด้วยเชือก ถ้าเป็นมากเชื้อก็เข้าทําลายเนื้อเยื่อภายใน
               ทําให้ก้านใบและใบ ห้อยลงขนานกับลําต้น ต้นจะเริ่มอ่อน การเจริญไม่งอกงามเหมือนต้นปกติ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18