Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12
นํ้าตาล บริเวณจุดดังกล่าวและจะมีอาการเน่าลุกลามเป็นบริเวณกว้างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. หรือ
มากกว่านี้ แผลบริเวณนั้นอาจแตกเป็นทางยาว เมื่อเป็นมากแผลจะยุบบุ๋มลง มีสีนํ้าตาลเข้ม และเกิดแผล
ทั่วไปทั้งผล
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Glomerella cingulata) สปอร์ของเชื้อรา
จะแพร่ปลิวไปตามลมและพายุฝน ทําให้เกิดการระบาดได้มาก ในช่วงฤดูฝนมะม่วงจะผลิใบอ่อน การทําลาย
จะมีมากขึ้น ส่วนการแพร่ระบาดในระยะมะม่วงออกช่อประมาณเดือนธันวาคม มกราคม เมษายน ซึ่งเป็น
ช่วงฤดูแล้ง ในระยะนี้หากมีพายุฝนเกิดขึ้น การเกิดโรคแอนแทรคโนส บนผลก็จะรุนแรง เพราะทั้งพายุลม
แรงและนํ้าฝนจะพัดพาสปอร์แพร่ไประบาดได้ดียิ่งขึ้น ทําให้แพร่ระบาดไปทั่วสวน
การป้องกันและกําจัด :
โรคนี้สามารถป้องกันกําจัดได้ด้วยการพ่นด้วยสารเคมี ในช่วงที่มีความชื้นและอุณหภูมิ
เหมาะสมกับการเกิดโรคและมีโรคระบาด เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ แมเนบ
หรือไซเนบ อัตรา 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และพ่นทันทีหลังการเก็บเกี่ยวแล้วผึ่งให้แห้งก่อนทําการบรรจุลง
หีบห่อ โดยเฉพาะเพื่อการส่งออก
4. โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการเริ่มแรกเกิดที่ใบอ่อน บริเวณเชื้อราเข้าทําลายมีสีผิดไปจากสีของเนื้อใบ
ปกติ เช่น เขียวอ่อนออกสีชมพูจางๆ จุดถูกทําลายบนพื้นใบทําให้เกิดย่นเล็กน้อย จุดดังกล่าวมีขุยสปอร์และ
เส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ ส่วนใหญ่จะพบใต้ใบมากกว่าบนผิวใบ ถ้ามีอากาศ ค่อนข้างเย็น
แผลจะปรากฏเป็นขุยแห้ง สําหรับลักษณะอาการที่ช่อดอกจะปรากฏผงสีขาวขึ้นฟูตามก้านดอกและดอก ซึ่ง
จะทําให้ดอกแข็งและร่วงไม่ติดผล ส่วนก้านช่อดอกบริเวณถูกทําลายจะยังคงมีผงสีขาวของเชื้อราขึ้นปก
คลุมอยู่ ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อนจนถึง สีนํ้าตาลอ่อนส่วนมากจะไม่ติดผล
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดได้ง่ายโดยปลิว
ไปได้ลมเป็นพาหะที่สําคัญ ระบาดไปทั่วต้นและบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะที่มะม่วงออกช่อโดยปกตินั้น อากาศค่อนข้างเย็นหรืออุณหภูมิตํ่า เชื้อราก็จะแพร่
ระบาด ฉะนั้นการใช้สารป้องกันกําจัดโรคราแป้ง จําเป็นต้องพ่นในขณะมะม่วงออกช่อและก่อนดอกบาน
เช่น เบโนมีล 8 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ไดโนแคบ 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ โฟลเพท 25 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร