Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
17
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Diplodia natalensis มีตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุดสีดํา ฝังอยู่บนแผลนั้น
ภายในมีสปอร์มาก สามารถฟุ้งกระจายไปทั่วและเข้าทําลายผลที่อยู่ใกล้เคียง
การป้องกันและกําจัด :
แช่ผลมะม่วงทันทีหลังการเก็บเกี่ยวในบอแรกซ์ 6 เปอร์เซ็นต์ นาน 3 นาที ที่อุณหภูมิ 43
องศาเซลเซียส หรือแช่ใน ออรีโอฟูจิน 500 ppm. นาน 30 นาที จะได้ผลดีในการป้องกันและกําจัดโรคนี้
13. โรคใบร่วง
ลักษณะอาการ :
เชื้อราเข้าทําลายใบเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลอ่อนบนใบ จุดจะขยายเป็นแผลขนาดใหญ่ มี
ลักษณะและขนาดไม่แน่นอน แผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลปนเทา เมื่อโรคมีความรุนแรงมาก อาจทําให้เกิด
แผลใหญ่ขยายมาเชื่อมติดต่อกัน ผืนใบแห้งตายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก้านใบจะถูกเชื้อเข้าทําลายเกิดมี
ลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาลดําและใบจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดินเป็นส่วนใหญ่เหลือแต่กิ่ง กิ่งอาจจะแห้งไป
หรือเป็นเพียงส่วนน้อยที่กิ่งจะมีโอกาสแตกยอดออกมาใหม่ โรคนี้จะเกิดเป็นได้ทั้งใบที่ยังอ่อนและใบแก่
แต่ใบแก่เป็นโรคนี้มาก เพราะผลเสียหายเกิดจากการเข้าทําลายของโรคนี้ทําให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลิ
ดอกออกผลน้อยมาก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Ascochyta mangiferae นํ้าฝนจะพัดพาเอาสปอร์ไปแพร่ระบาดหรือปลิว
ไปกับลม
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไป เผา
ไฟทําลาย รวมทั้งที่ร่วงหล่นด้วย
14. โรคใบจุดเหลี่ยม
ลักษณะอาการ :
ใบที่เป็นโรคจะเกิดจุดเปลี่ยนที่จํากัดโดยช่องร่างแห ของเส้นใบ แผลสีเหลืองอ่อนแต่
เส้นใบยังเป็นสีเขียว แล้วแผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ฉํ่านํ้า แล้วในที่สุดแผลจะแห้ง ขอบแผลจะนูนเด่น
ขึ้นมาเล็กน้อย สีนํ้าตาลเข้ม ถัดออกไปขอบรอบนอกแผลจะสีเหลืองเล็กน้อยคล้ายถูกทาทับด้วยนํ้ามัน เมื่อ
ส่องกับแสงแดดจะใสค่อนข้างโปร่งแสง ส่วนใหญ่แผลมักจะเกิดตรงบริเวณของปลายใบและอาจมีรอยแตก
หรือบิดเบี้ยว ถ้าเกิดในระยะผลิดอกออกผล ก้านของผลจะถูกเชื้อเข้าทําลาย เน่าและร่วงหล่นไป และใน
ขณะเดียวกันกิ่งอ่อนก็จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคนี้ถ้าเกิดระบาดในระยะติดผลก็จะได้รับความเสียหายมาก