Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
21
20. โรคสะแคบ
ลักษณะอาการ :
โรคสะแคบจะมีลักษณะอาการเกิดเป็นตุ่มนูนสีนํ้าตาลอ่อนบนผิวด้านล่างของใบ จุดนูน
ดังกล่าวเมื่อมาเชื่อมต่อกันก็จะเกิดนูนไปทั่ว ทําให้ผิวใบเกิดโป่งบวม ใบอาจโค้งงอ บิดเบี้ยวไปมา ถ้าเกิดกับ
ก้านใบก็จะทําให้ใบร่วงได้สําหรับในกรณีที่เชื้อเข้าทําลายผล ก็จะเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเยื่อตรงบริเวณ
แผลจะค่อย ๆ เริ่มแข็งในที่สุดจะแห้งเกิดเป็นสะเก็ด บางครั้งสามารถแกะออกมาได้ แต่โดยทั่วไปโดยรอบ
ของแผลจะแห้งร่อนเผยออกคล้ายจะหลุดออกได้ ซึ่งความจริงแล้วส่วนกลางสะเก็ดยังคงติดแน่นอยู่ เมื่อ
แกะออกก็จะเกิดเป็นแผลได้ อย่างไรก็ตามตุ่มนูนนั้นส่วนมากก็จะคงลักษณะ นูนดันผิวของใบอยู่ไม่มีการ
แตกเป็นสะเก็ด ถ้าใช้ใบมีดแกะตรงกลางตุ่มนูนจะพบว่าเป็นโพรงของเชื้อราเกิดอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนที่
ผลนั้นฝังแน่น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคสะแคบเกิดจากเชื้อรา Elsinoe mangiferae เมื่อตุ่มนูนเกิดแตกออกก็จะทําให้สปอร์
แพร่ออกไปและงอกเข้าทําลายต่อไปได้ นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญ
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่าเกิดโรคนี้มากบนใบ และในระยะผลเจริญเต็มที่ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์
เบนดาซิม 15 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร
21. โรคกิ่งผุ
ลักษณะอาการ :
เชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายกิ่ง โดยเข้าไปทางแผลตามรอยที่แมลงกัดหรือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงรอยแผลนี้ถูกทําการตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เป็นประจําทุกปี ฉะนั้นตรงบริเวณแผลจึงเป็น
ส่วนเปิดให้เชื้อราเจริญเข้าสู่เนื้อเยื่อของกิ่งก้านได้ เมื่อเชื้อราเข้าไปได้แล้วก็จะเจริญขยายการทําลายเซลล์
และเนื้อเยื่อตรงบริเวณนั้น เกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลดําปนสีเทา ในที่สุดก็จะเกิดเน่าผลลุกลามมากยิ่งขึ้น
ส่วนบนของแผลก็จะมีเชื้อราเกิดขยายเจริญงอกงามออกเป็นดอกเห็ดเล็ก ๆ สีขาว และเกิดกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ
ซึ่งเชื้อราที่เป็นดอกเห็ดนี้เกิดจากเชื้อราอีกระยะหนึ่ง จึงเสริมให้เกิดการเน่าผุของกิ่งเกิดมากยิ่งขึ้นและช่วง
เพิ่มความเสียหายเร็วขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อโรคกิ่งผุเกิดมากก็จะทําให้การเจริญงอกงามของมะม่วง เป็นไป
อย่างช้ามาก กิ่งที่ควรจะแตกออกมาใหม่กลับชะงักงัน ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากการทําลายของเชื้อรา Schizophyllum commune ซึ่งจะขยายการทําลายเข้าไปสู่
เนื้อไม้เกิดเน่าผุ นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับลม