Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       23


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                   โรคนี้เกิดจากการทําลายของเชื้อรา  Aspergillus  niger  สปอร์ของเชื้อราจะหลุดออกมา
               โดยง่ายและฟุ้งกระจายไปทั่ว  ฉะนั้นลมจึงเป็นพาหะที่สําคัญ

                        การป้องกันและกําจัด :

                                          ผลมะม่วงก่อนเก็บควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และจุ่มสารเคมี

               ดังกล่าวอีกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว หรือจะใช้สารเคมีไธอะเบนดาโซล แทนก็ได้


               24. โรคขั้วเน่าสีนํ้าตาล

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่ก็จะเกิดที่ขั้วของผลที่เจริญเต็มที่แล้ว  โดยที่เชื้อราสาเหตุ

               จะเข้าทําลายที่ขั้วที่เกิดลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาล ในระยะแรกจะสังเกตเห็นได้ยากมากเพราะจะเกิด
               เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เท่านั้น เมื่อลักษณะอาการของโรครุนแรง ก็จะทําให้ขั้วเกิดเน่าโดยรอบ ซึ่งอาจจะลุกลาม

               ไปเป็นทั้งขั้ว และที่โคนขั้วของผลก็จะเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาล และมีขอบแผลเป็นสีนํ้าตาลเข้ม  แผลจะขยาย

               ใหญ่เกิดเนื้อในเน่ามีลักษณะอ่อนนุ่ม  ตรงผิวเปลือกของผลบริเวณที่เป็นโรคจะมีตุ่มนูนเล็ก ๆ เท่าปลายเข็ม

               หมุดเกิดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งตุ่มนูนดังกล่าวเป็นเชื้อราสาเหตุโรคภายในมีสปอร์เป็นจํานวนมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากการทําลายของเชื้อรา  Phomopsis  mangiferae  ถ้าตุ่มนูนแก่และแตกออกก็จะทํา

               ให้สปอร์ที่อยู่ภายในนั้นแพร่ระบาดปลิวไปกับลมหรือไหลปนไปกับนํ้า
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ผลมะม่วงในระยะใกล้แก่ ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

               หรือใช้เบโนมิล แทนก็ได้


               25. โรคใบจุดสีเทา

                        ลักษณะอาการ :

                               ในระยะแรกจะเกิดเป็นจุดสีดํา แล้วจุดจะขยายใหญ่มีขนาดโตขึ้น แต่จุดจะขยายออกไป

               อยู่ในเขตจํากัดของเส้นใย ฉะนั้นแผลจึงมีลักษณะเป็นเหลี่ยมตามรูปของเส้นใยที่ตัดกันนั้นพื้นจะเกิดเป็นขุย
               สีเทาคล้ายกํามะหยี่สีเทา เมื่อสัมผัสจะมีลักษณะพื้นผิวอ่อนนุ่มของเส้นใยเล็ก ๆ  ของเชื้อราที่เจริญขึ้นมาอยู่

               เต็ม โรคนี้มักจะพบว่าเกิดเป็นมากในเรือนเพาะชําที่วางกิ่งมะม่วงที่ทาบมาไว้ซึ่งเรียงกันอยู่อย่างหนาแน่น

               และการถ่ายเทของอากาศไม่ดี จึงมีความชื้นในบริเวณนั้นค่อนข้างสูงลักษณะอาการของโรคจะทวีความ

               รุนแรงมากยิ่งขึ้นอีก และเป็นไปอย่างรวดเร็วในที่สุดมะม่วงที่เป็นโรคจะเกิดมีอาการเป็นสีเหลืองที่ก้านใบก็
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34