Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       28


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Plasmopara   viticola   เชื้อรานี้เจริญเติบโตและแพร่ระบาดได้รุนแรง
               ในขณะอากาศค่อนข้างเย็น หรืออุณหภูมิตํ่า นํ้าค้างมาก โดยเชื้อราจะมีสปอร์แพร่ระบาดไปกับนํ้าและด้วย

               ความเร็วแรงลมพัดให้สปอร์ปลิวไปสู่ต้นอื่นหรือบริเวณใกล้เคียง ในบางส่วนจะพบว่ามีโรคนี้เข้าทําลาย

               เสียหายมาก
                        การป้องกันและกําจัด :

                               โรครานํ้าค้างเป็นได้กับส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน กิ่งอ่อน ฉะนั้นหลังทํา

               การตัดแต่งกิ่งองุ่น โดยเฉพาะการผลิตองุ่นในฤดูฝนและฤดูหนาว โรคนี้มักจะระบาดรุนแรง ฉะนั้นควรพ่น

               ด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือฟอเซทธีลอะลูมีนัม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               2. โรคแอนแทรคโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการที่ใบกิ่งผลอ่อน เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลเล็ก ๆ ขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง

               ประมาณ 0.2-0.4 ซ.ม. แผลจะขยายใหญ่บุ๋มมีลักษณะคล้ายตานก ขอบแผลสีนํ้าตาลไหม้แห้งตรงกลางสีขาว

               นอกจากนี้ยังพบเป็นที่ก้านช่อดอก และมืออีกด้วย ถ้าเกิดเป็นที่ใบบางแผลจะมีจุดแผลสีนํ้าตาลทะลุ เมื่อเป็น
               รุนแรงใบร่วง ช่อดอกและผลร่วง อย่างไรก็ตามแผลที่เกิดจะมีตุ่มนูนสีดําขนาดเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุดเกิดอยู่

               เรียงรายทั่วพื้นแผลนั้น โดยเฉพาะแผลที่เกิดที่ผลนั้นจะเห็นได้ชัด

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               สาเหตุเกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporioides,  C. Ampelophagum   ซึ่งเชื้อรา

               ชนิดนี้ จะสร้างสปอร์ปลิวตามลมระบาดรุนแรงเป็นกับส่วนอ่อนขององุ่น โดยเฉพาะองุ่นที่ตัดแต่งกิ่งในฤดู

               ฝน และเกิดมากที่ผล
                        การป้องกันและกําจัด :

                                             พ่นด้วยสารเคมีที่ใช้ป้องกันกําจัดโรค เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิต แคปแทน หรือ

               แมเนบ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แต่เนื่องจากโรคนี้ระบาดเป็นกับองุ่นที่ตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูฝนจึงต้องพ่นทุก

               15 วัน


               3. โรคเถาแห้ง

                        ลักษณะอาการ :

                               ลักษณะอาการที่พบโดยทั่วไปเกิดกับกิ่งองุ่น โดยเฉพาะในระยะที่กําลังให้ผลใน

               ระยะใกล้สุกอาการเหี่ยวปรากฏให้เห็นบนกิ่งที่ถูกทําลาย โดยที่ช่อองุ่นยังติดอยู่กับกิ่ง ผลเหี่ยว ใบเหี่ยว และ
               สังเกตดูพบว่าบริเวณโคนกิ่งแก่มีแผลสีนํ้าตาลดําโดยรอบกิ่ง สําหรับส่วนของกิ่งที่สีเขียว แผลมีสีนํ้าตาลที่
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39