Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       29


               ลําต้นจริงๆ ถูกทําลายรอบกิ่ง เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นบริเวณถูกทําลายจะเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีดําเกาะติดอยู่

               เป็นกลุ่ม ๆ มากมายทําให้เถาแห้งตาย ส่วนอาการบนผลที่ถูกทําลายเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลและขยายออกไป
               โดยรอบตรงกลางจะมีเม็ดตุ่มดํา ๆ เล็กมากมาย เม็ดตุ่มนี้จะเรียงซ้อนกันเป็นวง ๆ โรคนี้ทําให้ผลเน่าและ

               เสียหายต่อผลผลิตโดยตรง

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                             โรคเถาแห้งเกิดจากเชื้อรา  Fusicoccum  viticolum  (Cryptosporella  viticola)  โดยทั่วไป
               เป็นกับองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาที่มีอายุปลูก 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบเป็นมากกับองุ่นอายุ 4-5 ปี เชื้อราในระยะ

               นี้สร้างเม็ดตุ่มนูนสีดํา ภายในจะผลิตสปอร์เป็นจํานวนมาก  จะแพร่ระบาดไปตามลมและนํ้าฝนเมื่อเชื้อราแก่

               เต็มที่จะทําให้สปอร์ออกมาได้โดยง่าย
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบโรคนี้เกิดมีแพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

               และตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออกเผาไฟทําลายเสีย


               4. โรคราแป้ง


                        ลักษณะอาการ :
                                            อาการบนผิวของใบตั้งแต่ใบอ่อนจนใบแก่เต็มที่ โดยมีผงขาว ๆ ของเชื้อราคล้ายฝุ่นผง

               แป้งปกคลุมบนผิวใบ ใบบิดเบี้ยว ถ้าเกิดเป็นกับใบอ่อนทําให้ใบอ่อนร่วง ทําลายก้านช่อดอกไหม้โดยมีผงสี

               ขาว ๆ เกาะอยู่ทําลายผลอ่อน ก็เกิดผงสีขาว ๆ จับตามผิวเช่นกัน ผลไหม้และร่วง ถ้าไม่ร่วงเมื่อผลโตขึ้นผิวที่

               ถูกทําลายจะกร้านมีสีนํ้าตาลเข้มและแตกง่าย ตลาดไม่ต้องการ ในสวนองุ่นที่ขาดการเอาใจใส่ดูแลอย่าง
               ต่อเนื่อง มักจะพบเป็นโรคนี้มาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากเชื้อรา  Oidium  tuckeri    (Uncinula  necator)  สปอร์ผงสีขาวเป็นจํานวน

               มากจะฟุ้งกระจายไปตามลม ระบาดรุนแรงในอากาศค่อนข้างแห้งในที่ ๆ มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นหรือตํ่า
               โดยเฉพาะในต้นฤดูหนาวหรือปลายฤดูฝน

                        การป้องกันและกําจัด :

                                            เมื่อมีโรคเกิดขึ้นควรพ่นป้องกันกําจัดด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
               หรือไดโนแคป 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40