Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       19


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Physalospora  persae  ซึ่งเป็น  Perfect stage  ของ  Diplodianat alensis
               ซึ่งสปอร์จะปลิวไปกับลมหรือติดไปกับขาของแมลง

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อเริ่มออกดอกและระยะผลอ่อนควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20

               ลิตร


               17. โรครากเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               โรครากเน่า โดยมากมักจะเป็นกับต้นมะม่วงในระยะต้นกล้าซึ่งกําลังเพาะชําที่จะใช้เป็น

               ต้นตอสําหรับการทาบกิ่ง เสียบกิ่ง เสียบยอดกับต้นแม่พันธุ์ที่ต้องการหรือเกิดเป็นกับต้นมะม่วงที่ปลูกใหม่
               ในแปลงปลูก ในระยะแรกเชื้อราสาเหตุของโรคซึ่งมีการแพร่เจริญอยู่ในดินบริเวณนั้น จะเข้าทําลายราก

               อ่อนๆ ที่เจริญออกมา ทําให้รากเกิดมีลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาลดําหรือสีดํา เมื่ออุณหภูมิและความชื้น

               เหมาะสม  การแพร่ระบาดของเชื้อโรคก็จะเข้าทําลายรากโดยรอบโคนต้น ทําให้รากหมดสภาพการดูดนํ้า
               และแร่ธาตุอาหาร ในที่สุดลักษณะอาการก็จะแสดงออกที่ใบโดยใบจะเริ่มเหี่ยวเฉาและค่อย ๆ ร่วงหล่นลงสู่

               พื้นดินไปเหลือแต่กิ่งก้าน ผลสุดท้ายก็จะยืนตายไปทั้งต้น โรคนี้ถ้าเกิดแพร่ระบาดในเรือนเพาะชําก็จะเกิด

               เป็นหย่อม ๆ แล้วจะค่อยแพร่ระบาดเป็นวงกว้างออกไป

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               โรคนี้เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  parasitica   มีสปอร์หลายรูปแบบที่สามารถอยู่ข้าม

               ฤดูกาลได้เป็นเวลานานและจะเจริญอยู่ในดินที่มีความชื้น  เชื้อรานี้สามารถแพร่ระบาดไปกับนํ้าที่พัดพาไปสู่

               แหล่งอื่น หรือติดไปกับดินเครื่องปลูกและต้นที่นําไปปลูก
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ในแปลงเพาะชําควรราดด้วยสารเคมีให้ทั่ว เช่น เมตทาแลคซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

               หรือจะใช้ เบนนาแลคซิล และออฟฟิวเรส แทนก็ได้ ต้นที่เป็นโรคต้องขุดออกไปเผาไฟทําลาย


               18. โรคใบจุดสีดํา

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุของโรคใบจุดสีดําเกิดสปอร์ปลิวอยู่ในอากาศ  เมื่อสปอร์ตกลงบนผิวของใบ

               มะม่วง สปอร์ก็จะงอกเข้าชอนไชเป็นจุด ๆ เข้าสู่เนื้อเยื่อภายในของผิวใบ โดยเฉพาะใบที่เริ่มเจริญแผ่ขยาย

               เต็มที่และมีสีเขียวซึ่งผิวใบยังไม่ค่อยจะแข็งแรงมากนัก เมื่อเชื้อราเข้าสู่เนื้อเยื่อก็จะทําลายเซลล์ส่วนนั้นตาย
               ไป เกิดเป็นจุดสีดําขนาดเท่าหัวเข็มหมุด จุดดังกล่าวจะเกิดเป็นสีดําทั้งด้านบนและด้านล่างของผิวใบ เชื้อรา
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30