Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       15


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากพืชชั้นตํ่าพวกสาหร่าย Cephaleuros virescens เมื่อแก่หรือเจริญเต็มที่จะเกิดสปอร์
               และแพร่ระบาดในฤดูฝน ส่วนใบที่ถูกทําลายจะต้องเป็นส่วนที่ได้รับแสงแดด ในระยะที่พืชชั้นตํ่าดังกล่าวนี้

               เจริญเติบโตจะต้องอาศัยอยู่บนพืชเท่านั้น ลมเป็นพาหะที่สําคัญในการนําสปอร์ไปแพร่ กระจายที่อื่นต่อไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                               สําหรับโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการพ่นสารเคมีพวกสารประกอบทองแดงที่ใช้ป้องกันกําจัด
               เชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วส่วนที่เป็นโรค



               9.  โรคกิ่งแห้ง

                        ลักษณะอาการ :

                               ที่เห็นได้ง่ายคือ  กิ่งจะแห้งเหี่ยว ใบร่วงหล่นเป็นสําคัญ  โดยลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจะ
               เกิดผิวเปลือกไหม้สีนํ้าตาลดําหรือจากปลายกิ่งลงมา  ผิวเปลือกบางส่วนอาจจะแตกแยกออกอย่างเห็นได้ชัด

               โรคจะขยายการทําลายเข้าสู่ก้านใบทําให้เน่าเป็นสีดํา ใบจะร่วงไป โรคจะลุกลามลงมาตามกิ่งเรื่อย ๆ ทําให้

               ส่วนบนของกิ่งเน่าและแห้งตายลงมา ในบางครั้งตรงบริเวณที่เป็นโรคจะมียางสีนํ้าตาลปนสีเหลืองไหลซึม
               ออกมา มีนํ้าหยดเกาะอยู่บนแผลนั้นทั่วไป  เมื่อผ่าตรวจดูเนื้อเยื่อของไม้ภายในจะปรากฏว่าเป็นสีนํ้าตาล แต่

               สําหรับที่เปลือกจะเป็นสีนํ้าตาลดํา  ท่อนํ้าท่ออาหารในเนื้อไม้จะเป็นสีนํ้าตาลเข้ม เป็นทางยาวตลอดไป  บาง

               จุดจะมียางสีนํ้าตาลปนสีเหลืองดังกล่าวเกิดอยู่  ส่วนเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างเปลือกและเนื้อไม้จะเป็นสีนํ้าตาล

               การเข้าทําลายของโรคนี้ทําให้มะม่วงไม่เจริญเติบโต ไม่ค่อยจะผลิตดอกออกผล
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  ปกติจะเกิดตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุดสีดํา

               ฝังอยู่ที่แผล ภายในมีสปอร์จํานวนมาก นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับลม
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่าเริ่มเป็นโรคก็ต้องตัดกิ่งนั้นออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น

               แคปทาโฟล 30 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร


               10. โรคยางไหล

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราจะเข้าทําลายลําต้นโดยผ่านเข้าทางผิวเปลือกที่สด  หรือช่องทางของแผลที่แมลง

               ทําลายไว้  ที่เปลือกจะเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลดํา  เยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างเปลือกและเนื้อไม้จะเป็นสีนํ้าตาล เนื้อ

               ไม้ที่ถูกทําลายจะเน่าเป็นสีนํ้าตาลเข้ม เมื่อถากเนื้อไม้ดูจะพบว่า ท่อนํ้าถูกทําลายเป็นสีนํ้าตาลดํา ไม่สามารถ
               ทําหน้าที่ส่งผ่านนํ้าและแร่ธาตุขึ้นไปสู่ใบได้  จึงมีผลให้ใบมีอาการเหี่ยวเฉาบริเวณแผลจะมีของเหลวเป็น
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26