Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10
2
มะม่วง
มะม่วง (Mangifera indica) ชาวไทยเราได้ปลูกมะม่วงกันมานานกว่าไม้ผลชนิดอื่น โดยปลูกไว้
หวังผลิตผลและร่มเงาเพียงต้นสองต้นไม่มากนัก มะม่วงมีมากพันธุ์ด้วยกันทั้งพันธุ์รับประทานดิบและสุก
เช่น เจ้าคุณทิพย์ สายฝน ลิ้นงูเห่า เขียวเสวย หนังกลางวัน แรด พิมเสน อกร่อง นํ้าดอกไม้ เป็นต้น
ปัจจุบันนี้พื้นที่การปลูกมากยิ่งขึ้น เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระบุรี ราชบุรี สุโขทัย นครราชสีมา
เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย และกําลังปลูกอีกหลายจังหวัด ทั้งนี้เป็นเพราะมะม่วงเป็น
ผลไม้ที่มีแนวทางในการพัฒนาเพื่อการส่งออก ขณะนี้ได้มีการส่งออกผลมะม่วงในปีหนึ่ง ๆ ทํารายได้
ให้แก่ประเทศไทยเป็นจํานวนมาก โดยส่งไปจําหน่ายยังประเทศ แคนาดา จีน ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น
เดนมาร์ก ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เยอรมัน บาห์เรน บรูไน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เบลเยี่ยม
สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรีย อเมริกา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง สิงคโปร์
อย่างไรก็ตามในการทําสวนมะม่วงก็มีโรคเข้าทําลายก่อความเสียหายต่อมะม่วงอยู่หลายโรค ซึ่งเกษตรกร
ควรปฏิบัติดังนี้
1.โรคโคนเน่าของต้นกล้า
ลักษณะอาการ :
ต้นกล้ามะม่วงที่เริ่มเพาะเมล็ดจนกระทั่งมีอายุ 3 เดือน เพื่อนําไปใช้เป็นต้นตอทาบกิ่งกับ
พันธุ์ที่ต้องการ ในแปลงเพาะชําหรือกระบะเพาะชําจะเห็นว่ามีโรคทําให้ตาย การตายของกล้ามะม่วง จะเกิด
เป็นหย่อม บริเวณโคนต้นมีลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาล อาจมองเห็นมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุม
แผลที่เน่านั้น ราชนิดนี้ เมื่อแก่จะมีเม็ดสีนํ้าตาล ขนาดเท่าเมล็ดผักกาด หรือหัวเข็มหมุดอยู่ทั่วไปบริเวณแผล
ของโรค โรคจะแพร่ระบาดมากเมื่อดินมีความชื้นมากและจะขยายการทําลายเป็นบริเวณกว้าง เสียหายมาก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium bataticola Taubenh เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ได้ในดินและ
จะพบว่ามีแพร่ระบาดรุนแรงมาในเครื่องปลูกเก่า เช่น ขี้เถ้าแกลบเก่า หรือ ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อยผสมทรายที่
ใช้หมักหมมมานานปี เชื้อราระบาดได้รวดเร็วเนื่องจากในกระบะเพาะมีจํานวนกล้ามะม่วงปลูกชิดกัน
หนาแน่นจึงลุกลามได้รวดเร็ว แพร่ระบาดในดินปลูกโดยการนําพาไปหรือติดไปกับในเครื่องปลูกเก่า