Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6
2. ใบแตก
ลักษณะอาการ:
โดยทั่วไปใบที่เป็นโรคจะแตกออกเป็นแฉกๆ บริเวณปลายใบ และลําต้นจะมีขนาดเล็ก
ใบที่เจริญออกมาใหม่จะมีปลายใบสีดําคล้ายถ่านไม้ แต่บริเวณก้านใบจะเป็นสีเหลือง แต่สีของขอบใบจะ
เป็นสีนํ้าตาลโดยรอบการเจริญของต้นอ่อนเห็นได้ชัด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:
โรคที่เกิดจากการทําลายของเชื้อรา Thiellaviopsis paradoxa โรคที่เกิดจากเชื้อราดังกล่าว
แล้วขยายการทําลาย เจริญไปทั่วผืนใบ และยังพบเชื้อรา Phytophthora palmivora และ yeast เจริญที่แผล
นั้นด้วย
การป้องกันและกําจัด:
โดยทั่วไปก็จําเป็นต้องทําความสะอาดบริเวณที่กําลังเป็นโรคให้สะอาดอย่าให้รกรุงรัง
แล้วพ่นด้วย Beaudeux mixture ให้ทั่วถึงหลายๆ ครั้งเพื่อทําลายเชื้อ หรือใช้ Benomyl ก็ได้ผลเช่นกัน
3. ใบจุด
ลักษณะอาการ:
ใบจะเกิดเป็นจุดเล็กๆ และจุดจะบุ๋มลงไปในเนื้อเยื่อของใบซึ่งยังอ่อนอยู่แล้วจะค่อยๆ มี
ขนาดใหญ่ อาจต่อเชื่อมเป็นแผลโตขึ้น เมื่อเป็นมากใบจะหักพับลงเรียบข้างลําต้น แล้วใบจะแห้ง โรคนี้มี
โอกาสทําให้มะพร้าวต้นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงต้องเป็นโรคนี้ด้วย
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:
เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Helminthosporium halodes เมี่อ spore แก่ก็จะแตกปลิว
ตามลมไปสู่ต้นอื่นอีกได้ ถ้ายิ่งมีความชื้นก็จะทําให้เพิ่มการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้
การป้องกันและกําจัด:
ก่อนอื่นต้องทํานุบํารุงต้นให้มีความแข็งแรง โดยให้ปุ๋ ยพวก Potash หรือ Phosphate
เพื่อให้พืชมีความต้านทานโรค จากนั้น spray ด้วย Copper oxychloride 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วหรือใช้
Manozeb แทนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน หรือใช้ Ediphenfos ก็ได้ผลเช่นกัน
4. โรคตาเน่า
ลักษณะอาการ:
ใบสีเขียวจะเริ่มซีดจางลง แล้วค่อยๆเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อน และสีนํ้าตาลตามลําดับ แต่
จะเห็นได้ว่าก้านใบจะหักพับห้อยลงแนบกับลําต้น ในขณะเดียวกันก็จะเกิดจุดดําๆ ขนาดเล็กเท่าเข็มหมุด
เกิดอยู่ที่ใบบนแผลนั้นโดยเฉพาะจะพบมากบนใบอ่อน จุดอาจขยายใหญ่ถึง 8 เซนติเมตร แล้วจุดจะมีสี